กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7644
ชื่อเรื่อง: การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินตามสภาพจริงสำหรับครูโรงเรียนมัธยมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The needs ssessment to develop the competency of uthentic ssessment for secondry school techers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปนัดดา จูเภาล์
พงศ์เทพ จิระโร
ศิริเพ็ญ ทองดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ครูมัธยมศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
ครูมัธยมศึกษา -- การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการประเมินตามสภาพจริงของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสมรรถนะในการประเมินตามสภาพจริงของครู โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีเพศ และระดับชั้นการสอนต่างกัน 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะการประเมินตามสภาพจริงจำแนกตามประสบการณ์การสอนของครูผู้สอน 4) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็น สำหรับครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินตามสภาพจริง สำหรับครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นแบบการตอบข้อมูลสองชุดหรือการตอบสนองคู่ (Dual-response format) ตามสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงที่ตรงกับความคิดเห็นของครูกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา มีการตอบด้วย การประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, One-way ANOVA และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะการประเมินตามสภาพจริง ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับดี ("X" ̅" " = 3.61, SD = 3.66) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สมรรถนะด้านวิธีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงของครูผู้สอน มีคะแนนเฉลี่ย ("X" ̅" " = 3.80, SD = .0.72) สูงกว่าด้านแนวคิดและหลักการในการประเมินผลตามสภาพจริงที่มีคะแนนเฉลี่ย ("X" ̅" " = 3.50, SD = .0.33) 2) สมรรถนะด้านการประเมินตามสภาพจริงของครูผู้สอนที่มีเพศและระดับชั้นการสอนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) สมรรถนะด้านในการประเมินตามสภาพจริงของครูโรงเรียนมัธยมศึกษากับ ประสบการณ์การสอน โดยภาพรวมและรายด้านด้านแนวคิดและหลักการในการประเมินผลตามสภาพจริงแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านวิธีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงของครูผู้สอนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นพบว่า โดยภาพรวมด้านแนวคิดและหลักการในการประเมินผลตามสภาพจริง (PNI = .391) มีความต้องการจำเป็นสูงกว่าด้านวิธีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงของครูผู้สอน (PNI = .391) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าด้านแนวคิดและหลักการในการประเมินผลตามสภาพจริงมีความต้องการจำเป็นในการนำผลการประเมินผลตามสภาพจริงมาปรับใช้ในการเรียนการสอนมากที่สุด ที่ค่าระดับ (PNI = .439) ส่วนในด้านวิธีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงของครูผู้สอนพบว่าความต้องการจำเป็นในการประเมินผลงานนักเรียนจากการทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) มากที่สุดที่ค่าระดับ (PNI = .36)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7644
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น