กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7639
ชื่อเรื่อง: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Lerning chievenment ng the scientific mind of mthyomsuks 4 students using ctive nd coopertie lerning with problem sitution
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธาภา โชติประดิษฐ์
ปริญญา ทองสอน
อรนุช บุญชู
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
พฤติกรรมการเรียน
จิตวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหา 2) ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหา 3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนอรัญประเทศ ตำบลอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) และใช้เกณฑ์ในการคัดเลือก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ มีความต้องการเรียนเพิ่มเติมในช่วงปิดภาคเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ 1) แผนการจัด การเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา 3) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เป็นการวิจัย กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research design) ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียน โดยใช้การจัด การเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญ .01 2) จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหา อยู่ในระดับดี ("X" ̅ = 4.04) 3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหาอยู่ในระดับดี ("X" ̅ = 4.30)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7639
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น