กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7631
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น (Active reading) หน่วยการเรียนรู้เรื่องพลังงานแห่งแสงเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการอ่านและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of the 5e inquiry lerning cycle with the ctive reding unit energy of light on science lerning chievement,bility to red nd scientific ttitude for prtomsuks 4
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
สมศิริ สิงห์ลพ
ขวัญชนก มาตรา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการอ่าน (Active reading) และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น (Active reading) หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พลังงานแห่งแสง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้จากการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น (Active reading)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบประเมินความสามารถในการอ่าน แบบวัดเจตคติ ทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการทดสอบ t-testแบบ Dependent sampleและการทดสอบ t-test แบบ One sample ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น สัปดาห์ที่ 3 มีความสามารถในการอ่านสูงกว่าสัปดาห์ที่ 1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้ นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้นสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7631
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น