กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7585
ชื่อเรื่อง: การใช้หอยแมลงภู่ (Perna viridis) เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพการปนเปื้อนของสาร Bisphenol A ในบริเวณชายฝั่งทะเล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of green mussels (pern viridis) s biomrker for bisphenol in costl re
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพร มูลมั่งมี
ถนอมศักดิ์ บุญภักดี
ชูตา บุญภักดี
หยาดเพชร โอเจริญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: หอยแมลงภู่ -- การตรวจสอบและการเจือปน
หอยแมลงภู่
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: Bisphenol A (BPA) และ 17β-estradiol (E2 ) เป็นสารในกลุ่มรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (endocrine disrupting chemicals; EDCs) ที่มีผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมและระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณการปนเปื้อนของสาร BPA และ E2 ในแหล่งน้ำรวมทั้งหอยแมลงภู่ (Perna viridis) ที่เลี้ยงในฟาร์มใกล้เขตอุตสาหกรรมและชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดตราด ระหว่างเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2559-มกราคม ปี พ.ศ. 2560 ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำจืดที่เก็บมาจากคลองชากหมากซึ่งเป็นพื้นที่รองรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองพบสาร BPA ในปริมาณสูงสุด เท่ากับ 50.7 ng/L และในน้ำทะเลที่เก็บมาจากหาดวอนภาจังหวัดชลบุรีซึ่งใกล้เขตชุมชนเทศบาลเมืองตำบลแสนสุข มีค่าเท่ากับ 37.13±2.70 ng/L ส่วนสาร E2 พบปนเปื้อนสูงสุดเท่ากับ 62.99±5.03 ng/L ที่คลองสังเขป จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นลำน้ำไหลผ่านชุมชนเมือง และพบปริมาณสาร BPA และ E2 ปนเปื้อนสูงสุดในตัวอย่างหอยแมลงภู่ตัวเต็มวัยที่เก็บมาจากฟาร์มในพื้นที่ใกล้เขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยองโดยมีค่าเท่ากับ (mean±SD) 109.97±14.80 ng/L และ 152.80±18 ng/L ตามลำดับโดยพบการสะสมของสารทั้งสองในหอยแมลงภู่ตัวเต็มวัยมากกว่าวัยอ่อนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อวัดระดับการแสดงออกของยีน cytochrome P450 4 family (cyp4) และยีน vitellogenin (vtg) ในหอยแมลงภู่ด้วยเทคนิค Reverse transcription quantitative real-time PCR (RT-qPCR) เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ (biomarker) โดยให้หอยแมลงภู่วัยอ่อนได้รับสัมผัสสาร BPA ด้วยวิธีการแช่ที่ความเข้มข้น 100 ng/L เป็นระยะเวลา 0 (กลุ่มควบคุม), 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมง พบว่าหอยแมลงภู่มีระดับการแสดงออกของยีน cyp4 และยีน vtg สูงสุดเท่ากับ 35.47+-0.77 และ 7.89+-0.71 ตามลำดับที่เวลา 48 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับกลุ่มควบคุม (1.0+-0.3 และ 1.0+-0.1 ตามลำดับ) เมื่อทดสอบให้หอยแมลงภู่ได้รับสัมผัสสาร E2 ความเข้มข้น 10ng/L เป็นเวลานาม 0 (กลุ่มควบคุม), 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมงพบว่าระดับการแสดงออกของยีน cyp4 และยีน vtg สูงสุดที่ได้รับสัมผัสสาร E2 นาน 12 ชั่วโมง เท่ากับ 2.87+-0.11 และ 130.16+-4.80 ตามลำดับแตกต่างจากกลุ่มควบคุม (1.0+-0.21 และ 1.0+-0.19 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อหอยแมลงภู่ได้รับสัมผัสสาร BPA+E2 ที่ระดับความเข้มข้นและระยะเวลาเท่ากับที่ทดสอบการได้รับสารแยกชนิด พบว่าสาร BPA+E2 มีผลยับยั้งระดับการแสดงออกของยีน cyp4 โดยมีค่าลดลงต่ำสุด (0.04+-0.01) ที่ระยะเวลา 12 ชั่วโมงแตกต่างจากกลุ่มควบคุม (1+-0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และทำให้ระดับการแสดงออกของยีน vtg ลดลงต่ำสุด (0.02+-0.01) ที่ระยะเวลา 12 ชั่วโมงเช่นกัน การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแหล่งที่มาหลักของการปนเปื้อนสาร BPA และ E2 ในสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทยมาจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งหลักของ E2 มาจากแหล่งชุมชน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์(ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7585
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น