กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7570
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : วิเคราะห์พหุกลุ่ม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cusl fctors effecting the honest behvior of students in lower secondry schools bngkok nd metropolitn res :bmultiple group nlysis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพรัตน์ วงษ์นาม
บุญรอด บุญเกิด
เกตุม สระบุรินทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การปรับพฤติกรรม
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
ความซื่อสัตย์
การศึกษาขั้นมัธยม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมโมเดล ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลระหว่างสังกัดของสถานศึกษา ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กระทรวงมหาดไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2,160 คน จำแนกเป็นสังกัด สังกัดละ 720 คน และจำแนกเป็นเพศชายและเพศหญิง เพศละ 1,080 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยง อยู่ระหว่าง .75-.91 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ ที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และการวิเคราะห์ ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ประกอบด้วย องค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบการส่งเสริมจากครอบครัวและเครือข่าย องค์ประกอบความเชื่อเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติตน องค์ประกอบ เจตคติต่อการปฏิบัติตน องค์ประกอบความเชื่อเกี่ยวกับทัศนะของกลุ่มอ้างอิง องค์ประกอบการคล้อยตาม กลุ่มอ้างอิง องค์ประกอบความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุม องค์ประกอบการรับรู้ความสามารถในการควบคุม การปฏิบัติตน องค์ประกอบเจตนาในการปฏิบัติตน องค์ประกอบความสามารถในการควบคุมการปฏิบัติตน องค์ประกอบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ผลการตรวจสอบค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (χ2 = 1582.575, p = .000, df = 337, χ2/df = 4.696, CFI = .989, GFI = .962, AGFI = .920, RMSEA = .042) ค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีค่าเท่ากับ 0.844 3. ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระหว่างเพศ และระหว่างสังกัดของโรงเรียน พบว่า 1) โมเดลระหว่างเพศชายและเพศหญิง มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุ เมื่อกำหนดให้ค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์สัมประสิทธิ์ การถดถอยของตัวแปรสังเกตได้บนตัวแปรแฝงภายนอก มีค่าเท่ากัน 2) โมเดลระหว่างโรงเรียนสังกัด สพฐ., สช. และ อปท. มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล และโมเดลที่มีความกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ระหว่างสังกัดของสถานศึกษา
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7570
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น