กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7568
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติที่ดีโดยชุมชนต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Good prctice community for the environmentl impct of costl erosion in upper gulf of thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มานพ แจ่มกระจ่าง
ดุสิต ขาวเหลือง
ปรีชา ปิยจันทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
ปัญหาสิ่งแวดล้อม -- ไทย
ชุมชน -- ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การปฏิบัติที่ดีโดยชุมชนต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพพื้นที่ของชายฝั่งทะเล อ่าวไทยตอนบน 5 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าคุณภาพชีวิต 3) เพื่อศึกษามาตรการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน และ 4) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเพื่อป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งทะเล อ่าวไทยตอนบนโดยชุมชนที่มีการปฏิบัติการที่ดี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้แบบสอบถามแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ประกอบด้วย หัวหน้าหรือผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้ง 5 จังหวัด หัวหน้าหรือผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลหรือสำนักงานเทศบาล จำนวน 7 หน่วยงาน รวม 7 คน ผู้นำชุมชนที่มีชุมชนติดชายฝั่งทะเล จำนวน 35 คน และหัวหน้าครัวเรือนหรือผู้แทนในพื้นที่ รวม 386 คน อีกทั้งมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) แก่ผู้นำชุมชนที่มีการปฏิบัติการที่ดีต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่อ่าวไทยตอนบน สภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลเกิดจากการทับถมของตะกอนในน้ำทะเล และจากตะกอนแม่น้ำสายหลัก ซึ่งตะกอนแม่น้ำสายหลักช่วยเติมตะกอนชายฝั่งให้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสภาพพื้นที่เป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรมที่มีการบุกรุกของประชาชน เพื่อการทำนากุ้งหรือนาเกลือ โดยปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรกายภาพในระดับมาก ผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพในระดับน้อย แต่ส่งผลกระทบในระดับปานกลางต่อชนิดสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำ และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ผลกระทบต่อคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์อยู่ในระดับน้อยแต่ส่งผลกระทบระดับปานกลางต่อพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรมหรือ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพื้นที่ป่าสาธารณะ ผลกระทบต่อคุณค่าคุณภาพชีวิตในระดับน้อย แต่ส่งผลกระทบในระดับปานกลางต่อเศรษฐกิจชุมชนหรือรายได้ อาชีพการประมง การประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และการอพยพย้ายถิ่น สำหรับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน มีมาตรการที่ใช้ดำเนินการในหลากหลายมาตรการ ทั้งมาตรการโครงสร้างแข็ง อันได้แก่ เขื่อนหินทิ้ง ไส้กรอกทราย เสาคอนกรีตชะลอคลื่น เขื่อนปูนฉาบแกนหินทิ้ง เขื่อนกึ่งถนนและ แนวปะการังเทียม อีกทั้งมีมาตรการโครงสร้างอ่อนโดยใช้ไม้ไผ่ชะลอคลื่น การปลูกป่าชายเลน ซึ่งมาตรการในการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งจะดำเนินการด้วยงบประมาณของภาครัฐ ทั้งนี้มาตรการที่ใช้ส่วนมากจะเป็นไม้ไผ่ชะลอคลื่นและเขื่อนหินทิ้ง แต่ก็ประสบกับปัญหาไม้ไผ่ มีการชำรุดง่าย ส่วนหินทิ้งก็มีการทรุดตัว ส่วนกระบวนการการจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนโดยชุมชนที่มีการปฏิบัติที่ดี พบว่า ชุมชนหมู่ที่ 10 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม นับเป็นชุมชนที่มีกระบวนการเพื่อการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยชุมชน ซึ่งมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง คือ คุณวิสูตร นามศิริ หรือที่ชาวบ้านและคนทั่วไปรู้จักในชื่อ ผู้ใหญ่แดง โดยผู้ใหญ่แดงนับเป็นผู้นำชุมชนที่ได้ร่วมคิดหารือกับคนที่มีอุดมการณ์หรือมีการทำงานที่เข้าใจกันได้ร่วมกันวางแผนในการจัดหาวัสดุหรืออุปกรณ์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ไม้ไผ่ชะลอคลื่น และมีการปลูกป่าชายเลนโดยคนในชุมชนที่มีส่วนร่วม ทั้งนี้การจัดหาพันธุ์ไม้หรือ การซ่อมแซมไม้ไผ่ที่ชำรุด ทำให้พื้นที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ในเวลาต่อมา
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7568
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น