กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7556
ชื่อเรื่อง: ความสันโดษของเยาวชนไทย : การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลและการทดสอบอิทธิพลปฎิสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านครอบครัว กลุ่มเพื่อน และการรู้เท่าทันสื่อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sntutthi of thi youth :bmodel vlidtion nd interction effects between fmily, peer group nd medi litercy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
ประชา อินัง
กรรณิกา ไวโสภา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: แบบทดสอบ -- ความเที่ยง
สันโดษ
เพื่อน
เยาวชน -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
สื่อ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- การดำเนินชีวิต
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดความสันโดษและการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความสันโดษ เมื่อใช้ตัวแปรการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวแปรผล และทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน และการรู้เท่าทันสื่อที่ส่งผลต่อความสันโดษของนักเรียนมัธยมศึกษาวิธีการศึกษาศึกษาเป็น 2 ระยะ โดยใช้ผสมสานวิธี ระยะที่ 1 สัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำนวน 905 คน เครื่องมือวิจัยเครื่องที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยใช้สถิติพื้นฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ และทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. โมเดลการวัดความสัน โดษและโมเดลการวัดการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2  = 0.17, 2  /df=1.26, SRMR = 0.02, RMSEA = 0.02, GFI=0.99, AGFI=0.98, NFI=0.99, NNFI=1.00, CFI=1.00 และ 2  = 0.00, 2  /df=2.33, SRMR = 0.04, RMSEA =0.04 , GFI=0.97, AGFI=0.95, NFI=0.98, NNFI=0.98, CFI=0.90 ตามลำดับ) 2. โมเดลเชิงสาเหตุความสันโดษของนักเรียนเมื่อใช้ตัวแปรการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวแปรผล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอของนักเรียนมัธยมศึกษาได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากความสันโดษ และได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อม จากการรู้เท่าทัน สื่อการคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม การถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัว และการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอของนักเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 89 3. การทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อนและการรู้เท่าทัน สื่อเทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวกับการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน มีอิทธิพลทางตรงทางลบเท่ากับ -0.16 ต่อความสันโดษของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวกับการรู้เท่าทัน สื่อไม่มีอิทธิพลต่อความสันโดษของนักเรียน และเทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อนกับการรู้เท่าทันสื่อ มีอิทธิพลทางตรงทางบวก เท่ากับ 0.18 ต่อความสันโดษของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเทอมปฏิสัมพันธ์ทั้ง 3 โมเดลนี้อธิบายความแปรปรวนของความสันโดษของนักเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 56, 70 และ 81 ตามลำดับ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น