กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7503
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแปรรูปอาหารสุขภาพในรายวิชาโครงงานวิชาชีพอาหารและโภชนาการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันการอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of teching nd lerning ctivities to enhnch crettive thinking in voctionl project on food nd nutrition diplom student in Voction Eduction Commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภชน์ อเนกสุข
สุรีพร อนุศาสนนันท์
สุภารัตน์ ช่างล้อ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาทางอาชีพ
การแปรรูปอาหาร
การศึกษาทางวิชาชีพ
อาหารเพื่อสุขภาพ
นักเรียนอาชีวศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความคิดสร้างสรรค์การแปร รูปอาหารสุขภาพจากข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์การแปรรูปอาหารอาหารสุขภาพและการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ อาหารสุขภาพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาอาหารและโภชนาการระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูงชั้นปีที่ 2 จํานวน 523 คน ครูผู้สอนสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ จํานวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและ มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1.องค์ประกอบเชิงยืนยันความคิดสร้างสรรค์ในการแปรรูปอาหาร ด้วย 1. คิดริเริ่ม 2.คิดคล่อง 3.คิดยืดหยุ่น 4.คิดละเอียดลออ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ยืนยัน ดังนี้ ค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 887.961; p=.000 ที่องศาอิสระเท่ากับ 731 ค่า / df 2 = 1.215 ค่า CFI เท่ากับ .986ค่า GFI เท่ากับ .921 ค่า AGFI เท่ากับ .900 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.021 2. กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการแปรรูปอาหารสุขภาพ คือ ได้แก่ การดู ภาพอาหารการชมการแข่งขัน การแปรรูปอาหารและการทัศนศึกษาร้านอาหารสุขภาพ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม กิจกรรมการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสุขภาพมาให้ความรู้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม ความคิดคล่อง การเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสาธิตและฝึกปฏิบัติเป็น กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องและความคิดหยืดหยุ่น กิจกรรมการฝึก การกำหนดรายการอาหารเพื่อสุขภาพ กิจกรรมการปฏิบัติการการทําผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ และนําเสนอภายในชั้นเรียน กิจกรรมการเข้าร่วมการแข่งขันการแปรรูปอาหาร การจัดแสดง ผลงานในการนําเสนองานจากการเรียนวิชาโครงงานวิชาชีพเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องความคิดยืดหยุ่นและความคิดละเอียดลออ 3. ผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปี 2 พบว่า กลุ่มกลุ่มที่ใช้กิจกรรมมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น ร้อยละ 92.48 ขณะที่กลุ่มไม่ใช้กิจกรรมมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น ร้อยละ 72.19
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7503
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น