กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/748
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุนันทา โอศิริth
dc.contributor.authorรติกร ประเสริฐไทยเจริญth
dc.contributor.authorสุภัทรา ชลพนารักษ์th
dc.contributor.authorจิระสันต์ มีรัตน์th
dc.contributor.authorประมุข โอศิริth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/748
dc.description.abstractภาคตะวันออก 4 จังหวัด คือจังหวัดตราด จังหวัดจันทรบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี เป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลแหล่งใหญ่ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้เป็นวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยง และการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหารทะเล พบว่ามีการทำอาชีพและดำเนินธุรกิจบริเวณชายฝั่งและในพื้นที่ต่าง ๆ ของแต่ละจังหวัด ได้สำรวจแหล่งผลิต ขายส่ง และจำหน่ายอาหารทะเล 230 แห่ง แหล่งที่มาของอาหารทะเลแห้ง/แปรรูป ส่วนใหญ่มาจาก บ้านเพ จ.ระยอง และชายฝั่ง ปัญหาคุณภาพส่วนใหญ่ที่พบ คือ มีเชื้อราเพราะอบไม่แห้ง เน่าเสีย เก็บได้ไม่นาน มีกลิ่น และไม่สด ผลการตรวจสิ่งปนเปื้อนเบื้องต้นในอาหารทะเล ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2549 รวม 1,243 รายการ พบฟอร์มาลิน 39 รายการ จาก 921 รายการ (4.23%) ตรวจพบบอแรกซ์ 10 รายการ จาก 16 รายการ (62.5%) ผลการตรวจในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 – กันยายน พ.ศ. 2551 รวม 1,853 รายการ พบสารบอแรกซ์ 11 รายการจาก 277 รายการ (3.9 %) พบสารฟอร์มาลิน 36 รายการจาก 1,106 รายการ (3.3%) พบยาฆ่าแมลง 1 รายการจาก 215 รายการ (0.5%) ผลการทดสอบโลหะหนักทางห้องปฏิบัติการรวม 224 รายการ พบการปนเปื้อน 183 รายการ (81.7%) แคดเมี่ยม พบ 51 รายการ (91.1%)ในทุกพื้นที่ ค่าเฉี่ย 0.693 mg/kg ค่าสูงสุด 5.209 mg/kg ที่บ้านเพ จ.ระยาง ตกมาตรฐาน 6 รายการ (10.7%) เป็นประเภทปลาหมึกทั้งหมด ปรอทพบทั้ง 56 รายการ (100%) ในประเภทปลามากที่สุด ค่าเฉลี่ย 0.621 mg/kg ค่าสูงสุด 7.277 mg/kg ที่มาบตาพุด จ.ระยอง ตกมาตรฐาน 14 รายการ (25.0%) ตะกั่วพบ 20 รายการ (35.7%) ที่หนองมน จ.ชลบุรี 19 รายการ อ.แหลมงอบ จ.ตราด 1 รายการ ไม่พบที่ จ.ระยอง และ จ.จันทรบุรี โดยพบในประเภทหอยมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 0.373 mg/kg ตกมาตรฐาน 1 รายการ (1.79%) สารหนู พบทั้ง 56 รายการ (100%) ในทุกพื้นที่ ในอาหารทะเลทุกรายการ พบมากที่สุดในประเภทหมึก ค่าเฉลี่ย 7.075 mg/kg ค่าสูงสุด 30.564 mg/kg ที่ตลากหนองมน จ.ชลบุรี ผลทดสอบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ Aerobic plate count 56 รายหาร พบปนเปื้อนทุกรายการ ค่าเฉลี่ย 5.1 x 10^9 cfu/g ค่าสูงสุดที่พบคือ 2.3 x 10¹¹ cfu/g ตกมาตรฐาน 29 รายการ (51.8%) เชื้อรา 56 รายการ พบปะเปื้อนทุกรายการ ค่าเฉลี่ย 3.17 x 10² cfu/g ค่าสูงสุดที่พบคือ3.9 x 10³ cfu/g บริเวณที่พบมากที่สุดคือ ตลาดหนองมน จ.ชลบุรี ตกมาตรฐาน 10 รายการ (17.8%) การจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหาร มีการตรวจสอบด้านสุขาภิบาลอาหารการตรวจสอบเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร การรณรงค์บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย การอบรมผู้จำหน่ายอาหารทะเล การประชุมกลุ่มแกนนำผู้จำหน่ายอาหารทะเล การจัดตั้งเครือข่ายโครงการอาหารทะเลปลอดภัย และ การนำเสนอต่อผู้บริหารในระดับนโยบายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อลดการปนเปื้อนในอาหารทะเลภาคตะวันออกth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณเงินแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้ชุดโครงการวิจัย อาหารทะเลปลอดภัย พ.ศ. 2551-52en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความปลอดภัยทางด้านอาหารth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectอาหารทะเล - - มาตรการความปลอดภัยth_TH
dc.titleสถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหารทะเลในภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeSituation, risk factors and management for sea food safety in the easten
dc.typeResearch
dc.year2552
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น