กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7477
ชื่อเรื่อง: การศึกษากระบวนการปรับตัวที่มีประสิทธิผลสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of student’s effective djustments process for living in the privte university
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดลดาว ปูรณานนท์
สมโภชน์ อเนกสุข
วัณยรัตน์ คุณาพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การปรับตัว (จิตวิทยา)
ความสามารถในการปรับตัว (จิตวิทยา)
มหาวิทยาลัยเอกชน -- นักศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน สังเคราะห์กระบวนการการปรับตัวจากประสบการณ์ของนักศึกษา วิเคราะห์ประสิทธิผลกระบวนการปรับตัวและทางเลือกในการนำไปใช้ของนักศึกษา การศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,250 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิดที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงสุดในระดับมาก คือ มีเวลาพักผ่อนหย่อนใจน้อยมาก ด้านความจำเป็นต่อร่างกาย มีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงสุดระดับมาก คือ รับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่ครบทุกประเภท ด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงสุดในระดับปานกลาง คือ มีหลายรายวิชาที่นักศึกษารู้สึกว่า ไม่เข้าใจในสิ่งที่เรียนอย่างแท้จริง 2. กระบวนการปรับตัวของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมี 2 ลักษณะ รวม 4 กระบวนการ คือ ลักษณะที่ 1 การปรับตัวเบื้องต้น ใช้กระบวนการที่ 1 วิธีการเบื้องต้น ได้แก่ การเพิ่มความพยายาม และการปรับหรือเปลี่ยนเป้าหมายที่ตั้งไว้ ลักษณะที่ 2 ถ้าการปรับตัวเบื้องต้นไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากสาเหตุร่วมทางจิตใจ ใช้กระบวนการที่สอดคล้องกับสาเหตุนั้น คือ กระบวนการที่ 2 ความคับข้องใจ: ใช้วิธีการจัดการความคับข้องใจ ได้แก่ การควบคุมตนเอง และพฤติกรรมถอยหลัง กระบวนการที่ 3 ความขัดแย้งใจ: ใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งใจ ได้แก่ การใช้เหตุผลในการตัดสินใจ การเผชิญความจริง และ การหลีกหนีความจริง กระบวนการที่ 4 ความเครียด: ใช้วิธีการจัดการความเครียด ได้แก่ การบำบัดทางธรรมชาติ และใช้กลไกทางจิต 3. ประสิทธิผลของกระบวนการปรับตัวเบื้องต้น ด้วยกระบวนการที่ 1 ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความจำเป็นต่อร่างกาย และด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จ ทุกด้านในระดับมาก กระบวนการที่ 2 ความคับข้องใจ มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จในระดับมาก กระบวนการที่ 3 ความขัดแย้งใจ มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จในระดับมาก และกระบวนการที่ 4 ความเครียด มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยพิจารณาจากสมการจำแนกกลุ่มของทุกกระบวนการ พบว่า สามารถจำแนกกลุ่มที่ปรับตัวได้กับกลุ่มปรับตัวไม่ได้ออกจากกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์มากที่สุดของแต่ละสมการจัดประเภทในรูปคะแนนดิบของกลุ่มที่ ปรับตัวได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกใช้กระบวนการ คือ กระบวนการที่ 1 ได้แก่ การปรับเปลี่ยนเป้าหมาย (14.90) กระบวนการ 2 ได้แก่ การควบคุมตนเอง (8.68) กระบวนการ 3 ได้แก่ การใช้เหตุผล (6.63) และกระบวนการ 4 ได้แก่ การใช้วิธีการธรรมชาติ (4.81)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7477
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น