กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7464
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorไพลิน เงาตระการวิวัฒน์
dc.contributor.advisorปิยฉัตร วัฒนชัย
dc.contributor.authorชลิตา นิ่มนวล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:58:57Z
dc.date.available2023-05-12T03:58:57Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7464
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์แอคทีฟเคลือบอนุภาคโลหะออกไซด์เพื่อยืดอายุมะม่วงนํ้าดอกไม้ โดยสลายเอทิลีน (C2H4) ด้วยการเร่งปฎิกิริยาด้วยแสง ซึ่งประกอบด้วย 2 การทดสอบ คือ การทดสอบประสิทธิภาพการเร่งปฎิกิริยาด้วยแสง ได้แก่ ผลกระทบของความเข้มแสง UVA ผลกระทบของปริมาณ TiO2 และประสิทธิภาพในการสลาย C2H4 ของฟิล์ม TiO2 ฟิล์ม WO3 และฟิ ล์ม TiO2/WO3 และนําฟิล์มที่มีประสิทธิภาพที่ดีมาทดสอบการยืดอายุของมะม่วงนํ้าดอกไม้ ซึ่งเป็นการทดลองส่วนที่สอง จากการศึกษาผง TiO2 และ WO3 พบว่า สามารถกำจัด C2H4 ได้ทั้งในสภาวะมืดและฉายแสง UVA แต่ผง TiO2 สามารถกาจัดเอทิลีนในสภาวะฉายแสงได้ชัดเจนกว่าผง WO3 ดังนั้นจึงเลือก TiO2 เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการสลาย C2H4 โดยสภาวะความเข้มแสง พบว่า เมื่อใช้ฟิล์มพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นตํ่าเคลือบ TiO2 3.8 mg ภายใต้การฉายแสง UVA ที่ช่วงความเข้มแสง 37-59 2 μw/cm ในการสลาย C2H4 ที่ความเข้มข้น 35 ppm พบว่าความเข้มแสงที่เพิ่มขึ้นจาก 37 เป็น 44 2 μw/cm มีอัตราการลดลงเริ่มต้นของ C2H4 เพิ่มสูงขึ้้น ซึ่งความเข้มแสงที่เหมาะสม คือ 37 2 μw/cm เนื่องจากสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงปริมาณ C2H4 ได้ จึงใช้ความเข้มแสงนี้ศึกษาผลกระทบปริมาณของ TiO2 ที่ปริมาณ 01.9 และ 3.8 mg พบว่าปริมาณ TiO2 เป็นปัจจัยหลักต่อการสลาย C2H4 เมื่อใช้ความเข้มแสงตํ่า ๆ ปริมาณของ TiO2 ที่เหมาะสม คือ 1.9 mg ในการเปรียบเทียบความสามารถในการสลาย C2H4 กับฟิล์ม WO3และฟิล์ม TiO2/WO3 พบว่า ฟิล์มเคลือบ TiO2 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเกิดกระบวนการเร่งปฎิกิริยาด้วยแสง ขณะที่ฟิล์ม เคลือบ WO3 มีประสิทธิภาพสูงในการดูดซับ C2H4 เมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 /WO3 ด้วยวิธีการเคลือบแบบ 2 ชั้น พบว่าประสิทธิภาพในการสลาย C2H4 สูงกว่าฟิล์ม WO3 แต่มีประสิทธิภาพตํ่ากว่าฟิล์ม TiO2 ซึ่งเป็นผลจากความสามารถในการดูดซับและการเกิดกระบวนการเร่งปฎิกิริยาด้วยแสงลดลง จากการศึกษาที่กล่าวมาพบว่าฟิล์ม TiO2 มีประสิทธิภาพในการสลาย C2H4 ได้ดีที่สุด เมื่อนํามาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์แอคทีฟสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงเคมีและลดการเน่าเสียของมะม่วงนํ้าดอกไม้ โดยการยืดอายุของมะม่วงนํ้าดอกไม้ได้ดีกว่าสภาวะควบคุมที่ไม่ใช้ฟิล์ม TiO2
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectไทเทเนียมไดออกไซด์
dc.subjectบรรจุภัณฑ์อาหาร
dc.subjectบรรจุภัณฑ์
dc.subjectเอทิลีน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมและสิ่งแวดล้อม
dc.subjectอาหาร -- การเก็บและรักษา
dc.titleการพัฒนาฟิล์มถนอมอาหารด้วยอนุภาคโลหะออกไซด์ขนาดนาโน
dc.title.alternativeActive pckging development by metl oxide nnoprticles
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe aim of this research was to develop the active packaging metal oxide nanoparticles coatings for extending mangoshelf lifeby degradation of C2H4 gas using photo catalytic reaction. The film coated with titanium dioxide catalysts (TiO2 Degussa P-25) and tungsten trioxide (WO3) catalyst under UVA were used, namely TiO2 film, WO3 film and composite of TiO2 and WO3 (TiO2/WO3) films. This research can bedivided into two sections. Firstly, to investigate the photo catalytic activity, the effects of UVA intensity and TiO2 content were studied. Next, the appropriate film from the first section was selected to extend shelf life of Nam Dok Mai mango. Based on the ethylene degradation, the result revealed that both of TiO2 and WO3 powders were possible to elimination of C2H4 gas in dark and UVA light conditions. However, TiO2 powder was able to eliminate the ethylene in light conditions more obviouslythan WO3 powders. Thus, it was chosen to optimize the condition for ethylene degradation. The low density polyethylene (LDPE) coated with 3.8 mg TiO2 under UVA intensity of 37-59 2 μw/cm was studied. The initial C2H4 gas concentration was 35 ppm. The results showed that the initial reduction of C2H4 decreased with increasing intensity of UVA from 37 to 44 2 μw/cm . The proper intensity was 37 2 μw/cm due tothe change in C2H4 content could be observed. The amount of TiO2 in this study was 0 1.9 and 3.8 mg, respectively. The result was found that the amount of TiO2 was the main factor of C2H4 degradation. The 1.9 mg of TiO2 was selected to measure the C2H4 degradation efficiency. As can be seen, TiO2 film exhibitedthe most effective as photocatalytic catalyst, while WO3 film showed highly effective in C2H4 adsorption. The composite film of TiO2/WO3 has lower C2H4 degradation than that of TiO2 film, but it has higher C2H4 degradation efficiency than WO3 film. Therefore, TiO2 films revealedthe best C2H4 decomposition efficiency when it used anactive packaging.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมและสิ่งแวดล้อม
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น