กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7457
ชื่อเรื่อง: การกำหนดปริมาณการผลิตและการจัดตารางการผลิตสำหรับกระบวนการปั้มขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงรถยนต์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Lot sizing nd scheduling for utomobile body prt pressing process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักรวาล คุณะดิลก
รดาธร กิตติญาณนนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
รถยนต์ -- การผลิต
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การควบคุมการผลิต
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นปัญหาการวางแผนการผลิตรายวันสำหรับเครื่องปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงรถยนต์ที่ต้องกำหนดปริมาณการผลิตชิ้นส่วนให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการของลูกค้าใน 14 กะทำงานต่อเนื่องและจัดตารางการผลิตในแต่ละกะทำงานให้สามารถผลิตชิ้นส่วนเสร็จก่อนส่งมอบไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง งานวิจัยนี้เสนอวิธีการกำหนดปริมาณการผลิต 4 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกใช้แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มผสมสำหรับหาเวลาสายที่สูงที่สุดจากทุกกะทำงานที่มีค่าน้อยที่สุด ขั้นตอนที่สองใช้แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มผสมสำหรับหาผลรวมเวลาสายแบบถ่วงน้ำหนักให้มีค่าน้อยที่สุด โดยให้น้ำหนักความสำคัญมากกว่าสำหรับ 4 กะทำงานแรก ผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองนี้ คือ ขีดจำกัดด้านบนของเวลาสายสำหรับแต่ละกะทำงาน ขั้นตอนที่สามใช้แบบจำ ลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มสำหรับหาเวลาผลิตเสร็จก่อนส่งมอบโดยเฉลี่ยที่มีค่ามากที่สุด เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดขีดจำกัด ด้านล่างของเวลาผลิตเสร็จก่อนส่งมอบ โดยเฉลี่ยและขั้น ตอนสุดท้ายใช้แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มสำหรับกำหนดปริมาณการผลิตชิ้นส่วนที่ทำให้ต้นทุนรวมจากการจัดเก็บชิ้นส่วนคงคลังและการปรับตั้งเครื่องจักรมีค่าต่ำที่สุด จากนั้นนำ ค่าตัวแปรตัดสินใจเกี่ยวกับการส่งมอบชิ้นส่วนของแบบจำลองนี้ไปทำการจัดตารางการผลิตของแต่ละกะทำงาน การทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการที่เสนอจากปัญหาการวางแผนการผลิตจริง 21 วันที่มีปริมาณความต้องการชิ้นส่วนเฉลี่ยต่อกะทำงาน 29 ชิ้นส่วน รวม 3,600 ชิ้น พบว่า สามารถหาผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดได้ทุกแบบจำลองของทุกปัญหา ต้นทุนรวมจากการจัดเก็บชิ้นส่วนคงคลังและการปรับตั้งเครื่องจักรลดลงร้อยละ 0.49 เวลาผลิตเสร็จก่อนส่งมอบโดยเฉลี่ยของทุกกะทำงานและของสองกะทำงานแรกมีค่าไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง เป็นไปตามเกณฑข์องโรงงาน จำนวนกะทำงานที่ไม่สามารถผลิตเสร็จได้ 6 ชั่วโมง ก่อนการส่งมอบจาก 14 กะทำงาน และจาก 2 กะทำงานแรกต่อการวางแผนหนึ่งวันลดลงร้อยละ 5.7 และ 11.9 ตามลำดับ และวิธีการที่เสนอใช้เวลาเฉลี่ยในการประมวลผลเพื่อสร้างแผนการผลิตรายวันต่ำกว่า 1 นาทีเมื่อเทียบกับวิธีการเดิมของโรงงานที่ใช้เวลาเฉลี่ย 109 นาที
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7457
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น