กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7436
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Techers’ opinion towrd lerning orgniztion of the schools in Soido District under Chnthburi Primry Eductionl Service Are Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยพจน์ รักงาม
ไพศาล ผลนิยม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ครูประถมศึกษา -- ทัศนคติ
การบริหารองค์ความรู้
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับ ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการสอน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2557 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน จำนวน 174 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในอำเภอสอยดาว ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ โดยมีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .49-.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างระหว่างรายคู่ ทำการทดสอบรายคู่โดยวิธีการ Least significant difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาโทขึ้นไปมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สูงกว่า ยกเว้น ด้านการเรียนรู้เป็นทีม เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการสอน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความคิดเชิงระบบ และการมีวิสัยทัศน์ร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูในโรงเรียนขนาดใหญ่มีความคิดเห็นสูงกว่า ยกเว้น ด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านแบบแผนความคิดอ่าน และด้านการเรียนรู้เป็นทีม
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7436
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น