กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7389
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of n instructionl model for enhncing the tlented studentsin thi clssicl music
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
สมโภชน์ อเนกสุข
พินิจ สังสัพพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ดนตรีไทย -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ความสามารถทางดนตรี
ดนตรีไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย ของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย และ 3) ประเมินรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันดนตรีไทยในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 774 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบสอบถามในลักษณะมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม SPSS วิเคราะห์ตรวจสอบร่างรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation model: SEM) โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย ของนักเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าไค-สแควร์ (2) = 181.60 ค่า df = 103 ค่า p = .000 ค่า CFI = .996 ค่า RMSEA = .0314 ค่า GFI = .973 และค่า χ2/ df = 1.763 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนความสามารถพิเศษทางดนตรีไทยได้ ร้อยละ 90.20 (R2 = .902) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย ของนักเรียน มี 1 ตัวแปร คือ ความสามารถพื้นฐานทางดนตรีไทย 2. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย เป็นรูปแบบเชิงระบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บทบาทของครอบครัว 2) กระบวนการ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ คุณลักษณะเฉพาะของนักดนตรีไทย และความสามารถพื้นฐานทางดนตรีไทย 3) ผลผลิต คือ ความสามารถพิเศษทางดนตรีไทย และ 4) ข้อมูลย้อนกลับ ถ้าหากผลผลิตไม่มีคุณภาพ 3. ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีค่าอยู่ระหว่าง .80-1.00 สามารถนำไปใช้สอน เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7389
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น