กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7375
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of biology instructionl model to enhnce nlyticl thinking criticl thinking nd problem solving thinking skills of mthyomsuks six students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริญญา ทองสอน
วิมลรัตน์ จตุรานนท์
มณเฑียร ส่งเสริม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ความคิดและการคิด
การเรียนรู้ -- การจัดการ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยา เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ประชากรที่ใช้เป็นกรอบในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนชลราษฎรอำรุง ปีการศึกษา 2559 สายวิทย์-คณิต จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม 1 ห้องเรียน จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น, แบบวัดการคิด วิเคราะห์, แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, แบบวัดการคิดแก้ปัญหา, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและแบบวัดเจตคติต่อวิชาชีววิทยา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดแก้ปัญหา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัด การเรียนรู้มี 8 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้นระลึกความรู้เดิม (Stimulus recall of prior learning) ขั้นแจ้ง จุดประสงค์ (Objectives) ขั้นสร้างความรู้ (Native knowledge) ขั้นกระบวนการกลุ่ม (Group processing) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) ขั้นขยายความรู้ (Expansion) ขั้นสอนให้คิดต่อ (Re-educate) ขั้นตรวจสอบและติดตาม (Monitoring) 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการเรียนตาม รูปแบบ และรูปแบบมีคุณภาพเหมาะสมตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.49 2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่าผู้เรียนในกลุ่มทดลอง มีผลการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติต่อวิชาชีววิทยา ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.87
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7375
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น