กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7369
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูโรงเรียนเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยกระบวนการวิจัยก่อรูป
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of techer’s reserch competencies for improving lerning in privte schools through formtive reserch pproch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุรีพร อนุศาสนนันท์
วิโรชน์ หมื่นเทพ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนรู้
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
สมรรถนะ
ครู -- การศึกษาและการสอน
โรงเรียนเอกชน -- การบริหาร
การศึกษา -- วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูโรงเรียนเอกชนโดยกระบวนการวิจัยก่อรูป แบ่งการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นสมรรถนะการวิจัยของครูโรงเรียนเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 370 คน สำหรับตอบแบบสอบถาม และผู้ดูแลการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูและครูที่ทำวิจัย จำนวน 8 คน สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธี Priority need index (PNI) ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 และ 3 เป็นการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูในโรงเรียน เป้าหมาย ได้แก่ ครูระดับปฐมวัย จำนวน 35 คน ดำเนินการวิจัยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยกับครู การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การทดสอบ การประเมินตนเอง การประเมินผลงานครู และการสังเกตพฤติกรรมของครูจากการทำวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน มีการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลที่ได้จากการประเมินหลายวิธีด้วยการคำนวณสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ (W) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อันดับที่ของสเพียร์แมน (ρ) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่และร้อยละ นำเสนอด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการบรรยายพัฒนาการของครู ผลการวิจัย พบว่า ครูมีความต้องการจำเป็นสมรรถนะการวิจัยด้านความรู้ความเข้าใจการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านเจตคติที่ดีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามลำดับ ผลการใช้การวิจัยก่อรูปช่วยพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูปฐมวัยได้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ด้านความรู้ความเข้าใจในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านเจตคติที่ดีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีครูผ่านเกณฑ์ จำนวน 31 คน คิดเป็น 88.57% ด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียน มีครูผ่านเกณฑ์ จำนวน 29 คน คิดเป็น 82.86% ผลงานวิจัยของครู การประเมินตนเอง และการสังเกตสะท้อนสมรรถนะการวิจัยของครูได้ตรงกันทุกด้าน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7369
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น