กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7350
ชื่อเรื่อง: ผลของการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอดการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดและความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดของผู้คลอครรภ์แรก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of lbor support by femle reltive on suffering from lbor pin, coping with lbor pin, nd stisfction with childbirth experiences mong primiprous prturients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
สุพิศ ศิริอรุณรัตน์
ชาลินี เจริญสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การคลอด -- ปัจจัยเสี่ยง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง
การคลอด
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผู้คลอดครรภ์แรกโดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยได้รับการเตรียมตัวเพื่อคลอดมาก่อนจะรู้สึกเครียด และทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด ไม่สามารถเผชิญการเจ็บครรภ์ได้อย่างเหมาะสม และส่งผลให้ผู้คลอดเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด การสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงที่ผู้คลอดเลือกให้อยู่ด้วยจะเป็นการดูแล ช่วยเหลือผู้คลอดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจากบุคคลที่คุ้นเคย จึงอาจช่วยเหลือผู้คลอดจากความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด ช่วยให้สามารถเผชิญการเจ็บครรภ์ คลอดได้และมีความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด การเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด และความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกที่มารับบริการการคลอดที่ห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จํานวน 50 คน เลือกตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ผู้คลอด 25 คนแรก เป็นกลุ่มควบคุม และอีก 25 คนต่อมา เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติ ผู้หญิงร่วมกับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความทุกข์ทรมาน จากการเจ็บครรภ์ แบบวัดการเผชิญการเจ็บครรภ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย คะแนนความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด คะแนนการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดและคะแนน ความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด ด้วยสถิติการทดสอบ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p= .006) แต่มีความทุกข์ทรมานและการเผชิญการเจ็บครรรภ์คลอดไม่แตกต่างจากผู้คลอด กลุ่มควบคุม (p = .098 และ p = .065) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงสามารถทําให้ผู้คลอดเกิดความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดมากยิ่งขึ้น พยาบาลห้องคลอด สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้คลอดเพื่อส่งเสริมให้ผู้คลอดเกิดความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7350
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น