กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/724
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธร สุนทรายุทธ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:04Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:04Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/724
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับองค์ประกอบการบริหารและการจัดการกับคุณภาพของบัณฑิตทางการศึกษา 2) เปรียบเทียบระดับองค์ประกอบการบริหารและการจัดการ และระดับคุณภาพของบัณฑิตทางการศึกษาระหว่างนิสิตที่มีสถานภาพแตกต่างกัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบการบริหารและการจัดการกับคุณภาพของบัณฑิตทางการศึกษา และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ของบัณฑิตทางการศึกษาจากองค์ประกอบการบริหารและการจัดการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ของคณะศึกษาศาสตร์ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นได้จำนวน 218 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน สหสัมพันธ์อย่างง่าย การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารและการจัดการทั้ง 10 องค์ประกอบอยู่ในระกับการปฏิบัติมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้าน 1.1) การเป็นองค์กรแห่งวิชาชีพ 1.2) การจูงใจเชิง สร้างสรรค์ของผู้บริหาร และ 1.3) การสรา้งวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงาน 2.คุณภาพของบัณฑิตทางการศึกษา ทั้ง 4 คุณลักษณะอยู่ในระดับการปฏิบัติมาก ทั้งภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ 2.1) คุณลักษณะของครูที่ดี 2.2) คุณลักษณะของความเป็นคนดี และ 2.3) คุณลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ 3. นิสิตที่มีสถานภาพด้าน 3.1) เพศชายหรือเพศหญิง 3.2) การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่สอบเอ็นทรานหรือสอบตรง และ 3.3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง กลาง ต่ำ มีการรับรู้ต่อองค์ประกอบการบริหารและการจัดการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นิสิตที่มีสถานภาพด้านการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่สอบเอ้นทรานหรือสอบตรง มีผลต่อคุณภาพของบัณฑิตทางการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. องค์ประกอบของการบริหารและการจัดการกับคุณภาพของบัณฑิตทางการศึกษา โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 6. องค์ประกอบการบริหารและจัดการ ด้าน 6.1) การจูงใจเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร (x5) 6.2) การเป็นองค์กรแห่งวิชาชีพ (x2) และ 6.3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (x10) สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพของบัณฑิตทางการศึกษา โดยรวมได้ร้อยละ 30.10 และสามารถร่วมกันทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้สมการพยากรณ์ ดังนี้ Y= 1.81+.19(x5)+.13(x2)+.13(x10)th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectบัณฑิต - - ชลบุรี - - วิจัยth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ - - การบริหาร - - วิจัยth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ - - บัณฑิต - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการศึกษาองค์ประกอบการบริหารและการจัดการกับคุณภาพบัณฑิตทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeA study of education management factors and quality of bachelor degree in education of burapha Universityen
dc.typeResearch
dc.year2548
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to determine the level of Education Management factors and the Quality of Bachelor Degree. 2) to compare the level of Education Management factors and level of Quality of Bachelor Degree among demographic difference student. 3) to study relationship between Education Management Factors and the Quality of Bachelor Degree, and 4 to study relative prediction the Quality of Bachelor Degree from Education Management Factors as well as variables. The samples consisted of junior and senior 218 students, Faculty of Education, by stratified random sampling. The instrument used for data collecting was the four-level-rating scale questionnaires. The statistical devices used for data analysis were mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression analysis through SPSS for window. The research revealed the following. 1. The ten factors of Education Management were found to be at the high practically level both in general level and in each studied category including 1.1) Professionalization 1.2) Creative Motivation, and 1.3) Culture and working climate. 2. The Four Quality of Bachelor Degree were scored at the high practically level both in general level and in each studied category including 2.1) Characteristic’s Teacher Efficacy 2.2) Characteristic’s Good Citizenship, and 2.3) Characteristic’s Collaborate Country ship. 3. The Demographic difference students including 3.1) Male and Female, 3.2) Admission entrance and direct exams and 3.3) Achievement (high, medium, low) were perceived the Education Management Factors as a different level at .05. 4. The Demographic difference students in Admission (entrance and direct exams) had affected to Quality of Bachelor degree different at .05. 5. The Education Management Factors had significantly positive relationship (p<.05) both as a whole and in each particular aspect. 6. The Education Management including 6.1) Creative Motivation (x5), 6.2) Professionalization (x2), and 6.3)Human Resource Development (x10) can predict the Quality of Bachelor Degree as a whole and can cooperatively predict as significantly different (p<.05). The raw data predictable equation could be written as follows: Y= 1.81+.19(x5)+.13(x2)+.13(x10)en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_002.pdf3.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น