กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7224
ชื่อเรื่อง: การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Teching nd lerning mngement of chinese lnguge for mtthyomsuks students of schools under the secondry eductionl service re office 6
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
ธร สุนทรายุทธ
รติพร แสนรวยเงิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน ของนักเรียนมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครูสอนภาษาจีน และผู้บริหารฝ่ายวิชาการ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 6 จำนวน 101 คน และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการเรียน การสอนภาษาจีน ของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 6 จำนวน 9 คน โดยใช้เทคนิคการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ตามมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาจีนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ด้านภาษาและวัฒนธรรม ด้านภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และด้านภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชน และโลก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน ของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ตามมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาจีนทั้ง 4 ด้าน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนทั้ง 4 ด้าน ของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ในแต่ละด้านมีดังนี้ 3.1 ด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร นักเรียนที่เรียนภาษาจีนมีความสามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนเป็นภาษาจีนได้ แต่สามารถปฏิบัติได้แตกต่างกัน นักเรียนอื่นทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ใน กลุ่มแผนศิลป์ภาษาจีน สามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนเป็นภาษาจีนได้น้อยว่ากลุ่มนักเรียน ที่เรียนอยู่แผนศิลป์ภาษาจีน 3.2 ด้านภาษาและวัฒนธรรม นักเรียนสามารถบอกเกี่ยวกับสิ่งใกล้ตัวเป็นภาษาจีนได้ แต่ในการวิเคราะห์ข่าว เหตุการณ์ หรือสรุปใจความสำคัญเป็นภาษาจีน อาจยากเกินไปในระดับ มัธยมศึกษา แต่ถ้าให้เวลานักเรียนในการปฏิบัติและฝึกฝนบ่อย ๆ นักเรียนก็สามารถทำได้ ส่วนด้าน วัฒนธรรมจีนพื้นฐานที่นักเรียนได้เรียนมา นักเรียนให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมและ ปฏิบัติตนได้เหมาะสมในการเข้าร่วมกิจกรรมตามโอกาสและความสนใจของนักเรียน 3.3 ด้านภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น นักเรียนทำได้ดีมาก ในเรื่องการอธิบายความเหมือนหรือความแตกต่างทางด้านภาษาระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย ส่วนการนำภาษาจีนมาประยุกต์ให้เข้ากับชีวิตประจำวันนั้น นักเรียนสามารถปฏิบัติได้แต่ไม่ทุกคน จะได้มากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับความรู้ของคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนแต่ละคน แต่การนำภาษาจีน มาบูรณการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นนั้น หากนักเรียนมีการเตรียมตัวศึกษาค้นคว้าในสิ่งที่ครูสอน หรือสิ่งที่นักเรียนสนใจ นักเรียนก็สามารถปฏิบัติได้ 3.4 ด้านภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก นักเรียนสามารถสื่อสารโดยใช้ ภาษาจีนได้ในสถานการณ์จริง สามารถพูดคุย สนทนาพื้นฐานเป็นภาษาจีนในวงคำศัพท์ที่ได้เรียนมาได้ดี ส่วนการเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนและชุมชนเป็นภาษาจีน ให้คนจีนทราบนั้นทำได้ยาก เพราะการที่จะสื่อสารกับเจ้าของภาษาให้รู้เรื่องและเข้าใจได้ นักเรียน ต้องสามารถออกเสียงหรือสำเนียงได้ถูกต้อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7224
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น