กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7089
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบพัฒนาครูประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการภาษาอังกฤษกับสาระของครูโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of n in-service techer trining to enhnce teching competence in english integrted content clssrrom using technology-bsed pproch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์
มนตรี แย้มกสิกร
พรรณวลัย เกวะระ
พัชรี ทองอำไพ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ครู
สมรรถภาพในการทำงาน
ครู -- การศึกษาและการสอน
ภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาครูประจำการในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการภาษาอังกฤษกับสาระของครู โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน เป็นการดำเนินการวิจัย โดยผสานวิธีวิจัยร่วมกันระหว่างการวิจัยและพัฒนา (Research and development) และแนวคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยมีครูเป็นผู้ร่วมลงมือปฏิบัติการจริง กระบวนการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนาต้นแบบระบบ ระยะที่ 2 การนำระบบไปใช้ในสถานการณ์จริง และระยะที่ 3 การประเมินเพื่อรับรองระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งเป็นครูที่ผ่านการอบรมจากโครงการวิจัยและพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาอังกฤษบูรณาการสู่มาตรฐานสากลในเครือข่ายโรงเรียน EIS: English for Integrated Studies และเป็นผู้สมัครใจเข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน ดำเนินการในช่วงภาคการศึกษาที่ 1/2560 ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1. ระบบการพัฒนาครูประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการภาษาอังกฤษกับสาระของครู โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐาน มีชื่อเรียกว่า “ICT4EIS” มาจากค าว่า “Information and Communication Technology for English in Content Classrooms for Teacher” องค์ประกอบของระบบถูกจัดระเบียบความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา (Goal setting) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson planning) ขั้นตอนที่ 3 สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน (Learning activities) ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน เพื่อการพัฒนา (Reflection) และขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการวงรอบใหม่ (A new round) 2. ประสิทธิภาพของระบบการพัฒนาครูประจำการฯ โดยภาพรวมพบว่า เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาการสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการภาษาอังกฤษกับสาระของครู ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ครูเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนสมาชิกในชุมชนการ เรียนรู้วิชาชีพ 2) ครูเรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง จนสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ตามเป้าหมาย เกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) ของตน และ 3) ครูใช้ภาษาอังกฤษสลับกับภาษาไทยในการจัดการเรียนรู้และสื่อสารในชั้นเรียน เป็นลักษณะของการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน 3. ผลการประเมินการพัฒนาระบบ พบว่า 3.1 ปัจจัยที่มีความจำเป็นที่จะทำให้กระบวนการพัฒนาตนเองของครูสำเร็จลุล่วง คือ ผู้บริหารโรงเรียน กระบวนการติดตามการดำเนินงาน การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ การเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองของครู และวัฒนธรรมขององค์กรที่มีความเข้มแข็ง 3.2 แนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) ของครูที่นำระบบการพัฒนาครูประจาการฯ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน มี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ครูให้ผู้เรียนศึกษาล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมของตนเอง รูปแบบที่ 2 ครูดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในชั้นเรียนก่อน หลังจากนั้นจึงจะสอนเป็นภาษาไทยควบคู่กันไป และรูปแบบที่ 3 สำหรับครูที่ยังไม่มีความชำนาญ จะเน้นการใช้สื่อในรูปแบบภาษาอังกฤษที่ทันสมัย มีความน่าสนใจ เพื่อกระตุ้น ความสนใจของผู้เรียน 3.3 ความพึงพอใจของครูหลังจากที่ร่วมพัฒนาตามระบบ พบว่าอยู่ในระดับมาก ครูเกิดความมั่นใจและสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารผ่านวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น มีความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาการสอนของตนเอง สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองตามหลักของชุมชนการเรียนรู้ วิชาชีพ และใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างเหมาะสม
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7089
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น