กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7053
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปริญญา ทองสอน
dc.contributor.advisorวิมลรัตน์ จตุรานนท์
dc.contributor.authorชนธี ชำนาญกิจ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:29:40Z
dc.date.available2023-05-12T03:29:40Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7053
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการสหกิจศึกษา โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและแนวคิด การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 30 คน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่ม เดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะ ทางด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในการสหกิจศึกษาที่พัฒนาขึ้น 2) กรอบมาตรฐาน สมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย 5) แบบประเมินสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทย 6) แบบวัดเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม 7) แบบติดตามผลหลังการฝึกอบรม และ 8) แบบวัดความพึงพอใจของสถานประกอบการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยก่อนการฝึกอบรมแตกต่างกับหลัง ฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม 3) ผลการประเมินสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยหลังการฝึกอบรมสูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักศึกษามีเจตคติต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม หลังได้รับการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก 5) นักศึกษานำความรู้และสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยไป ใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก และ 6) สถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectระบบการเรียนการสอน
dc.subjectมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก -- หลักสูตร
dc.subjectการวางแผนหลักสูตร
dc.subjectภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- หลักสูตร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในการสหกิจศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
dc.title.alternativeA competency-bsed trining curriculum development of the thi usge to prepre for coopertive eduction by coopertive lerning nd concept of communictive lnguge teching
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to develop a competency-based training curriculum on the Thai usage for cooperative education using cooperative learning and concept of communicative language teaching. The sample group was 30 third-year students of Rajamangala University of Technology Tawan-ok who were selected by cluster sampling technique. The research design was one group pre-test post-test quasi-experiment. The instruments were : 1) the competency based training curriculum of Thai usage, 2) the competency standards framework of the Thai usage, 3) the lesson plans which applied cooperative learning and the concept of communicative language teaching, 4) a Thai language achievement test, 5) a competency assessment of the Thai usage, 6) an attitude test for the students towards the training curriculum, 7) a follow-up form for the training, and 8) a questionnaire on the satisfaction of the user. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, and t-test. The findings were that : 1) The competency-based training curriculum of Thai usage developed was rated at a high appropriate. 2) Thai language score before training and after training was significantly different at the .05 level. Thai language score after training was higher than before training. 3) The Thai usage competency after training was higher than the set 70 percent criterion at the statistical significant of .05 level.4) Students’ attitude towards the training curriculum after training was at high level. 5) Students application of the knowledge and competency of the Thai usage to perform for cooperative education after training was at high level and 6) The satisfaction of user towards the Thai students’competency after training was at high level.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น