กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6988
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.authorสุดารัตน์ บุญรอด
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:27:08Z
dc.date.available2023-05-12T03:27:08Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6988
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาพร้อมเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง ของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 86 คน โดยการสุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย ตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวบข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .50-.91 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .98 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบหาความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง เรียงอันดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการวัดผลและประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ได้แก่ ควรสร้างความเข้าใจแก่ครู และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ ความสำคัญของหลักสูตร ส่งเสริมให้ครูใช้การจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่สนุกสนาน จัดอบรมให้ ความรู้กับครูในการผลิตสื่อการเรียนการสอน และให้ครูจัดทำแผนการวัดผลและประเมินผลให้สอดคล้องกับ มาตรฐานการศึกษา
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านนา "นายกพิทยากร" สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7
dc.title.alternativeProblems nd guidelines for the development of cdemic dministrtion of Bnn “Nyokphittykorn” School, Nkhon Nyok Province under the Secondry Eductionl Service Are Office 7
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate, compare the problems, and suggest guidelines for the development of academic administration of Banna "Nayokphittayakorn" School, Nakhon Nayok Province under the Secondary Educational Service Area Office 17, as classified by gender, educational qualifications, and learning areas. The sample included the teachers of Banna "Nayokphittayakorn" School, Nakhon Nayok Province. Based on Krejcie and Morgan Table of Sample Size (1970, pp. 607-609), the sample of the study, derived by means of stratified random sampling, using learning areas as a criterion, and then by simple random sampling according to the proportion, consisted of 86 teachers. A 5-level rating scale questionnaire, with the discrimination power between .50-.91 and with the reliability at .98, was an instrument used for data collection. Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA were statistical devices for the data analysis. In case that significant differences were found, Scheffe's paring comparison method would be applied. The findings revealed as follows: 1. Problems of academic administration of Banna "Nayokphittayakorn" School, Nakhon Nayok Province under the Secondary Educational Service Area Office 17, as a whole and in each particular aspect, were found at a high level, except in the aspect of instructional media, which was found at a medium level. Ranked from the first three more to less average scores were the aspects of instructional management, assessment and evaluation, and curriculum and its implementation, respectively. 2. The comparison of problems of academic administration of Banna "Nayokphittayakorn" School, Nakhon Nayok Province under the Secondary Educational Service Area Office 17, classified by gender, as a whole and in each particular aspect, no statistically significant differences were found. When being classified by educational qualifications, as a whole and in each particular aspect, no significant differences were found, except in the aspect of assessment and evaluation, in which significant differences were found at the statistical level of .05. Finally, when being classified by learning areas, as a whole and in each particular aspect, significant differences were also found at the statistical level of .05, except in the aspect of curriculum and its implementation, in which no significant differences were found. 3. Guidelines for the development for solution of the problems of academic administration of Banna "Nayokphittayakorn" School, Nakhon Nayok Province under the Secondary Educational Service Area Office 17, are as the following: building up understanding of the importance of curriculum among teachers and people concerned, encouragement of using motivation for learning activities with fun, provision of training on production of instructional media, and preparation of assessment and evaluation plan to be in accordance with learning standards.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น