กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6936
ชื่อเรื่อง: การปรึกษากลุ่มแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่าต่อภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายของเยาวชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The nrrtive exposure group counseling to posttrumtic stress disorder of youth effected by civil unrest in Southern Border provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
เพ็ญนภา กุลนภาดล
เกรียงศักดิ์ รัฐกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
จิตผิดปกติ
เยาวชน -- สุขภาพจิต -- ไทย (ภาคใต้)
การบำบัดทางจิต -- ไทย (ภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายของเยาวชนผู้ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญ เรื่องเล่าต่อภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย ดําเนินการศึกษาเป็น 2ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยัน ของภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายของเยาวชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 436คน ทําการสุ่มอย่างง่าย โดยมีครูประจําชั้นแต่ละโรงเรียนเป็นผู้คัดกรอง ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่า กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีคะแนนเฉลี่ยภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในระดับ ปานกลาง จํานวน 20คน สุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่ม ตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่า ดําเนินการปรึกษากลุ่มจํานวน 10ครั้ง ๆ ละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 10วันติดต่อกัน ส่วนกลุ่ม ควบคุมได้รับการดูแลตามแนวทางปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลัง ภยันตราย มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดโดยสูตรสัมประสิทธ์อัลฟูา เท่ากับ 0.79และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎี การเผชิญเรื่องเล่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ํา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบของภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายของเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 4องค์ประกอบ ได้แก่ การมีประสบการณ์ซ้ําการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงความคิดและอารมณ์ไปด้านลบ และอาการตื่นตัว ที่เปลี่ยนไปอย่างมาก โมเดลหลังจากปรับแก้แบบจําลอง มีดัชนีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2 χ = 195.95, df= 131, p-value = 0.00021, Chi-square/ df= 1.495, SRMR = 0.031, RMSEA = 0.034, CFI = 0.994, GFI = 0.957, AGFI = 0.931, CN = 385.936) 2. ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่าต่อภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย ของเยาวชน ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า 2.1 เยาวชนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่า มีค่าเฉลี่ยภาวะผิดปกติทางจิตใจ ภายหลังภยันตรายในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล ต่ํากว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 เยาวชนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่า มีภาวะผิดปกติทางจิตใจ ภายหลังภยันตราย ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลต่ํากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า โปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการเผชิญเรื่องเล่าสามารถลดภาวะผิดปกติทางจิตใจภายหลัง ภยันตราย ของเยาวชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างชัดเจน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6936
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น