กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6933
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถานศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of the qulity evlutionl system t curiculum level certificte of voctionl eduction ccording the voctionl qulifiction frmework
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาศ แหนจอน
พงศ์เทพ จิระโร
สุพรรษา อเนกบุณย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การประเมินหลักสูตร
อาชีวศึกษา
การศึกษาทางวิชาชีพ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ (มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดําเนินงานการประเมินคุณภาพ ระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถานศึกษา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา พัฒนาระบบประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ทดลองใช้และหาประสิทธิผลของระบบ กลุ่มตัวอยาง คือ รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ หรือหัวหน้างานหลักสูตรการเรียนและการสอนของสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จํานวน 379 คน กลุ่มเป้าหมายที่นําระบบไปทดลองใช้และการหาประสิทธิผลของระบบมีจํานวน 5 สถานศึกษา ๆ ละ 5 คน ได้ผลการศึกษาดังนี้ ( 1. การศึกษาสภาพการดําเนินงานเกี่ยวกับประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ได้ ลําดับความต้องการจําเป็น 4 อันดับแรก ดังนี ( 1) ด้านครูผู้สอน (PNI = 0.94) 2) ด้านคุณภาพของผู้สําเร็จการศึกษา (PNI = 0.77) 3) ด้านทรัพยากรและการจัดการ (PNI = 0.71) 4) ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และการประเมินผลผู้เรียน (PNI = 0.67) เมื่อนําผลของการศึกษาสภาพ การดําเนินงานประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ มาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาค่าไอเกนที่มากกว่า 1.5 สกัด ได้ 4 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านการบริหารและจัดการศึกษา 2) ด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินผู้เรียน 3) ด้านผู้สอน 4) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน 2. การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ได้ขั้นตอนของการดําเนินงานของระบบมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ประชุมวางแผนและทบทวน 2) การใช้เครื่องมือ 3) สรุปและรายงานผลการประเมินตนเอง 4) นําผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุง 3. ผลการทดลองใช้และการหาประสิทธิผลของระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ได้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจต่อการทดลองใช้ระบบ ภาพรวม ขั้นตอนที่ 1 ประชุมวางแผนและทบทวนภาพรวม กิจกรรมของระบบ ระดับมาก ( X = 4.21, SD = 0.69) กลไกของระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.60, SD = 0.84) ขั้นที่ 2 การใช้ เครื่องมือ กิจกรรมและกลไกของระบบ ระดับมาก ( X = 4.29, SD = 0.84) และ ( X = 3.98, SD = 0.80) ขั้นตอนที่ 3 สรุปและรายงานผลการประเมินตนเอง กิจกรรมและกลไกของระบบ อยู่ในระดับมาก ( X = 4.11, SD = 0.63) และ ( X = 4.02, SD = 0.63) ขั้นตอนที่ 4 นําผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุง กิจกรรมและกลไกของระบบ อยู่ในระดับมาก ( X = 3.90, SD = 0.70) และ ( X = 4.07, SD = 0.77) และผลการหาประสิทธิผลของระบบการประเมินคุณภาพ ระดับฯ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ขั้นตอน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการประเมิน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ( X = 4.24, SD = 0.91) ด้านความถูกต้อง ( X = 4.22, SD = 0.90) ด้านความเป็นไปได้ ( X = 3.81, SD = 0.98) และด้านความเหมาะสม (X = 4.13, SD = 0.83)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6933
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น