กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6930
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา : การวิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์ ความไว และความเฉพาะเจาะจง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of indictors to indicte the competency of eductionl mesurement nd evlution supervisors under the primry Eductionl Service Are : the nlysis of empiricl vlidity, sensitivity nd specifiction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สมโภชน์ อเนกสุข
ษมาพร ศรีอิทยาจิต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ศึกษานิเทศก์
ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
สมรรถนะ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
สมรรถภาพในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา ทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลองโครงสร้างเชิงเส้น ตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์วิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์ ความไว และความเฉพาะเจาะจง ของตัวบ่งชี้ เมื่อนำไปใช้ประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ วิเคระห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ขั้นสูงในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ความไวรายข้อใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ ความไวภาพรวม และการวิเคราะห์ความเฉพาะเจาะจงโดยใช้ตารางจัดพวกแบบ 2x2 และเปรียบเทียบผลกับเกณฑ์อัตราส่วนความเป็นไปได้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา มี 5 ตัวบ่งชี้หลัก 12 ตัวบ่งชี้ย่อยและ 41 ข้อคำถาม เรียงลำดับ ตามค่าน้ำ หนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย คือ 1) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (.91) มี 2 ตัวบ่งชี้ 2) การให้ความรู้และผู้นำทางวิชาการ (.90) มี 3 ตัวบ่งชี้ 3) การส่งเสริมสนับสนุน และประสานงาน (.79) มี 3 ตัวบ่งชี้ 4) การกำกับติดตาม และประเมินผล (.63) มี 2 ตัวบ่งชี้ 5) การให้คำปรึกษา (.19) มี 3 ตัวบ่งชี้โมเดลโครงสร้างเชิงเส้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบได้ค่าไค-สแควร์ 64.33 ค่า p-value .058 ที่องศาอิสระ 48 ดังนี้ วัดความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในรูปของค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ ( 2 /df) 1.34 ค่า GFI .99 ค่า AGFI .95 ค่า RMSEA .029 2. ความตรงเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพื่อหาความสอดคล้องระหว่างคะแนนรวมรายองค์ประกอบจากการประเมินตนเองของศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษากับคะแนนรวมจากการประเมินสมรรถนะรายบุคคลของผู้ประเมิน พบว่า มีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ในด้านการให้ความรู้และผู้นำทางวิชาการ การส่งเสริมสนับ สนุนประสานงาน การกำกับติดตาม และประเมินผล และความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน 3. ความไวของตัวบ่งชี้แต่ละตัว โดยการเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะระหว่างกลุ่มศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะสูงกับกลุ่มที่มีสมรรถนะต่ำในแต่ละด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวม พบว่า มีความไวสูง (.85) และมีความเฉพาะเจาะจงสูง (.90)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6930
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น