กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6847
ชื่อเรื่อง: บรรยากาศองค์การของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอแก่งหางแมวจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The orgniztionl climte of primry school in Keng hng moeo district, Chnthburi province under the Chnthburi primry eductionl service re office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยพจน์ รักงาม
รัชนี เงินถ้วน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน -- ไทย -- จันทบุรี
โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- ไทย -- จันทบุรี
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบรรยากาศองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำแนกตามเพศประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา 2559 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970, p. 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 คน จากนั้นทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของสถานศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่เป็นแบบสอบถามที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามระหว่าง .22 ถึง .79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( X̅ ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe’ ผลการการวิจัยพบว่า 1. บรรยากาศองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 พบว่า คะแนนรวมความแตกต่างจากมิติของแบบบรรยากาศน้อยที่สุด คือ แบบรวบอำนาจ 2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมครูและพฤติกรรมผู้บริหารของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โดยจำแนกตามเพศ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า มิติขวัญและมิติมิตรสัมพันธ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า มิติขาดความสามัคคี มิติอุปสรรค และมิติขวัญมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6847
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น