กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6814
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.authorวราทิพย์ เอี่ยนเหล็ง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:20:24Z
dc.date.available2023-05-12T03:20:24Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6814
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากร โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน ภูมิลำเนา และสถานภาพการเป็นศิษย์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling)ตามกลุ่มการปฏิบัติงาน โดยใช้ตารางกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .21-.82 มีค่าความเชื่อมั่น .92 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. ความผูกพันต่อองค์การครูและบุคลากรโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความเชื่อมั่นและยอมรับในเป้าหมาย และค่านิยมขององค์การ ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายาม เพื่อปฏิบัติงานในองค์การ และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะคงความเป็นสมาชิกขององค์การ 2. การเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การครูและบุคลากรโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามเพศ ภูมิลำเนา และสถานภาพการเป็นศิษย์ พบว่าโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความเชื่อมั่นและยอมรับในเป้าหมาย และค่านิยมขององค์การ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคนที่มีประสบการณ์การทำงาน มากกว่ามีความเชื่อมั่นสูงกว่า 3. แนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ เรียงตามอันดับความถี่มากไปน้อย 5 อันดับ คือ ผู้บริหารควรให้คำแนะนำ และคำปรึกษากับครูและบุคลากร ผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศภายในองค์การ ผู้บริหารควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับครูและบุคลากร และระหว่างเพื่อนร่วมงานกับ เพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารควรมีการดูแล เอาใจใส่ครูและบุคลากรภายในโรงเรียน และผู้บริหารควรจัดกิจกรรม ให้ครูและบุคลากรภายในโรงเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectครู -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectครู
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การ
dc.titleความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากรโรงเรียนพนัสพิทยาคารจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
dc.title.alternativeOrganizational commitment of teachers and personnel of Phanatpittayakarn School under the secondary education service area office 18
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study and compare the organization commitment of teachers and personnel of Phanatpittayakarn School, Chonburi province, under the office of Secondary Education Commission Area Office 18. The study was classified by sex, working experience, domicile and status as a student. The samples used in this study were teachers and personnel of Phanatpittayakarn School, Chonburi province, the Secondary Educational Service Area Office 18 by stratified sampling method based on the performance group , and used the sample size chart of Krecicie & Morgan (1970, p. 608). There were 106 samples. The research tool was questionnaire that had the discrimination between .21 to .82 and the reliability was .92. The statistics used for data analysis were Mean ( ), Standard deviation (SD) and t-test. The research found that: 1. The organization commitment of teachers and personnel of Phanatpittayakarn School, Chonburi province, under the office of Secondary Education Commission Area 18 had the high level both the overall and individual aspects by sorting the average score from descending order. The section that had highest score was to confidence, acceptance in goal and the values of the organization. The second was the willingness to devote effort for working in the organization. The last was the passionate desire to retain the membership of the organization. 2. The Comparison of the organization commitment of teachers and personnel of Phanatpittayakarn School, Chonburi province, under the office of Secondary Education Commission Area 18 classified by sex, working experience, domicile and status as a student found that the overall and individual aspects were not significantly different. However, when classified by working experience, the overall, there were no statistically significant differences except the confidence, acceptance in goal and the values of the organization section. There were statistically significant differences at the .05 level. A group of samples who had more working experiences had higher confidence. 3. Guidelines for strengthening organizational commitment sort by frequency range 5 most desirable. The director should counsel teachers and staff management. The director should create a good atmosphere within the organization. The director should build good relationships with teachers and personnel, and between colleagues. The director should pay attention to teachers and school personnel. The director should organize activities for teachers and school personnel to work together.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น