กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6716
ชื่อเรื่อง: รูปแบบและกลวิธีการแปลคำประชดเสียดสี : กรณีศึกษา นวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Trnsltion methods nd techniques of srcstic irony: cse study of four reigns
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุบล ธเนศชัยคุปต์
สมภพ ใหญ่โสมานัง
ณัฐณิชา ขามเย็น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: นวนิยายไทย
นวนิยาย -- การแปล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการแปลและกลวิธีการแปลคําประชด เสียดสีจากนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินฉบับภาษาไทย ประพันธ์โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่ง ตุลจันทร์ อันเป็นนามปากกาของจันทร์แจ่ม บุนนาค เป็นผู้แปลนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินฉบับภาค ภาษาอังกฤษ โดยใช้กรอบแนวคิดของรูปแบบการแปลของนิวมาร์ค (Newmark, 1981) และกลวิธี การแปลที่ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมตามกรอบทฤษฎีของ เบเคอร์ (Baker, 1997) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนําเสนอข้อมูลในรูปแบบร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าผู้แปลใช้รูปแบบการแปลมากที่สุดคือการแปลแบบดัดแปลง รองลงมา คือการแปลแบบตรงตัว ลําดับต่อไปคือการแปลเพื่อการสื่อสาร ส่วนกลวิธีการแปลผู้แปลใช้กลวิธีการแปลมากที่สุดคือการถอดความโดยใช้คําที่มีความเกี่ยวข้องกับต้นฉบับรองลงมาคือการแปลโดย การถอดความโดยการใช้คําที่ไม่มีความสัมพันธ์กันกับต้นฉบับและการแปลโดยการอธิบายความลําดับต่อไปคือการแปลโดยการแทนที่ทางวัฒนธรรม ผู้แปลใช้รูปแบบการแปลและกลวิธีการแปลที่หลากหลาย เนื่องจากความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมของภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปล โดย ผู้แปลคํานึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านภาษาแปลเป็นหลัก อีกทั้งผู้แปลยังพิจารณาถึงการเก็บรักษา ความหมายของต้นฉบับไว้ ตามรอยความคิดเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ควบคุมด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6716
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf992.73 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น