กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6707
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอุษณากร ทาวะรมย์
dc.contributor.authorณัฎฐ์วัฒน์ ธนพรรณสิน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-05-12T03:17:51Z
dc.date.available2023-05-12T03:17:51Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6707
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวการณ์การเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา และเพื่อศึกษาปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดันของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาแรงงานข้ามชาติสัญชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา โดยทำการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับกลุ่มผ็ให้ข้อมูลสำคัญ (Key information) ที่เป็นแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาจำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบจากข้อมูลที่ได้มาและจัดระบบให้เป็นหมวดหมู๋เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาสรุปหาใจความสำคัญโดยตีความหมาย แยกแยะข้อมูลที่มีความหมายเดียวกันอยู่ในแนวเรื่องเดียวกัน และสรุปผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาวการณ์การเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา พบว่า รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ต้องดิ้นรนเพื่อหาเงินเลี้ยงตนเองและครอบครัว เป็นเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องเข้ามาเป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย และขั้นตอนเข้าสู่ตลาดแรงงานที่เข้ามาในจังหวัดนครราชสีมาในช่วงแรก ๆ เข้ามาผิดกฎหมายและเมื่อเข้ามาได้สักระยะหนึ่งได้งานที่แน่นอนและมีรายได้เพียงพอตามต้องการ จึงมีการปรับตัวเข้าสู่ระบบแรงงานภาคอุตสาหกรรมซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมาย 2. ปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดันในการเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า (1) ด้านสภาพงานและลักษณะงาน สภาพการจ้างงานที่มีไม่เพียงพอเกิดปัญหาการว่างงาน ทำให้เข้ามาหางานทำที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย และลักษณะงานส่วนใหญ่ที่ได้ทำเป็นแรงงานกรรมกร (2) ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อาชีพที่แรงงานมีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายสูงคือ มีโอกาสที่จะเข้าไปทำงานในอาชีพเดียวกันในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี หากแรงงานกลุ่มนี้ได้รับค่าจ้างหรือเงินเดือนต่ำกว่าแรงงานอาชีพเดียวกันในต่างประเทศมากมีแนวโน้มที่แรงงานเหล่านี้เคลื่อนย้ายออกเพื่อแสวงหารายได้ที่สูงกว่า (3) ด้านวัฒนธรรม ค่านิยม การดำเนินชีวิตที่ขาดสิ่งจูงใจด้านความก้าวหน้า นโยบายกำลังคนไม่เหมาะสม ทำให้กำลังคนส่วนหนึ่งไม่ตรงกับความต้องการของประเทศ ในทางกลับกันกำลังคนเหล่านี้เป็นที่ต้องการของประเทศอื่น จึงมีแนวโน้มค่อนข้างมากในกทารเคลื่อนย้ายออก (4) ด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการเกษตรสามารถลดจำนวนแรงงานในชนบทลงไปได้จึงต้องออกจากถิ่นเดิมไปเพื่อหาโอกาสในการทำงานอื่น ๆ อีกทั้งสิ่งแวดล้อมที่อำนวยต่อการดำเนินชีวิตก็มีส่วนทำให้แรงงานจากประเทศด้อยพัฒนาสู่ประเทศอื่น (5) ด้านกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ เนื่องจากความไม่พอใจในสภาพสังคมหรือการเมืองในประเทศ ทั้งการเมืองที่มีความวุ่นวายและกดขี่ มีการกีดกันในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และขาดการคุ้มครองแรงงาน จึงทำให้อยากอพยพออกไปประเทศอื่น และ (6) ด้านนโยบายแรงงาน รวมทั้ง ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ปัญหาขาดแคลนแรงงานในระดับล่างที่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ทำให้นายจ้างหรือผู้ประกอบการต้องหาแรงงานจากที่อื่นเข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดหายไป 3. ปัญหาและอุปสรรคในการเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า แรงงานข้ามชาติก่อนเข้าสู่ประเทศไทยมมีสภาพชีวิต ของแรงงานต่างด้าวทั้งด้านครอบครัว ด้านสังคม และด้านการทำงานนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องดิ้นรนกับการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี มีระดับการศึกษาที่ไม่สูงและปัญหารายได้ไม่เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แรงงานเหล่านี้เคลื่อนย้ายเข้าสู่ตลาดแรงงานไทยเป็นต้นมานั่นเอง
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแรงงานต่างด้าว -- การจ้างงาน -- ไทย -- นครราชสีมา
dc.subjectแรงงานต่างด้าวกัมพูชา -- ไทย -- นครราชสีมา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.titleสภาวการณ์เข้ามาทำงานของแรงงานต่างชาติสัญชาติกัมพูชาในจังหวัดนครราชสีมา
dc.title.alternativeConditions of combodin mifrnt lbors in Nkhon Rtchsim province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the working situation of Cambodian migrants in Nakhon Ratchasima, and to study the factors influencing and motivating Cambodian migrant workers from Cambodian in Nakhon Ratchasima. Qualitative research and in-depth interviews were conducted with 10 key Cambodian migrant workers. The data is derived and organized into categories to bring the relevant information to identify information that has the same meaning in the same context and to summarize the objectives. The research found that; 1. The working situation of Cambodian migrants revealed that incomes were not enough to cover costs as they were struggling to raise money for themselves and their families. This is why they had to work as foreigners in Thailand and then they came to be the labors in Nakhon Ratchasima. In the early stages, it was illegal to do certain jobs despite the need for income, so they shifted to the industrialized labor system, due to its being permanent jobs that conformed with the law. 2. Attractiveness and motivation factors for migrant workers from Cambodia in Nakhon Ratchasima province are as follows: (1) Employment conditions are insufficient and unemployment motivated them to work in Nakhon Ratchasima, Thailand. (2) Socio-economic, political, occupational, and labor mobility, were attractive as well as the opportunity to work in the same profession in a foreign country as well. If these workers receive lower or salaries than those in the same country, they are more likely to be displaced by higher wages. (3) Culture, values, lack of incentives. Inadequate manpower policy means that same people do not meet the needs of the country, while on the other hand, these people are needed by other countries. (4) Technology and environment. The development of technologies used in agriculture can reduce the number of rural workers. (5) Laws, regulations, and regulations are essential for the protection of the environment due to the dissatisfaction with the social or political situation in the country, such as political turmoil and oppression. Racism, religion and lack of labor protection were also issues. (6) Labor policies, problems and obstacles the lower level of labor. There is a shortage of unskilled in Nakhon Ratchasima, which leads employers or entreoreneurs to find other success of workers to make up their labor requirements. 3. Problems and Obstacles in the Employment of Cambodian Migrant Workers in Nakhon Ratchasima. It was found that migrants had a better life before entering Thailand. The familial, social and work environment led to a struggle to live up to the quality of life due to the low level of education and insufficient income. This is why these workers are moving into the Thai labor market.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารทั่วไป
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น