กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6698
ชื่อเรื่อง: มูลเหตุจูงใจของผู้เข้ารับการบำบัดด้วยเมทริกซ์โปรแกรมที่ยังคงใช้ยาเสพติดในระหว่างการบำบัด กรณีศึกษาโรงพยาบาลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivtion mong drug ddicts rehbilitted by mtrix model while using nrcotic drugs : cse study of lem chbng hospitl, mphoe sirch, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษณากร ทาวะรมย์
ฉัตรมงคลช์ โสธรพิทักษ์คุณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: ยาเสพติด -- การรักษา -- สถานที่ตั้ง
ยาเสพติด -- ชลบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษามูลเหตุจูงใจในการเสพยาเสพติดก่อนเข้ารับการบำบัดด้วยเมทริกซ์โปรแกรม กรณีศึกษาโรงพยาบาลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และ 2) เพื่อศึกษามูลเหตุจูงใจที่ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดยังคงมีการเสพยาเสพติดระหว่างการบำบัดด้วยเมทริกซ์โปรแกรม กรณีศึกษาโรงพยาบาลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) คือ ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด (ยาบ้าและยาไอซ์) ที่ยังคงมีการใช้ยาเสพติดอยู่ในระหว่างการบำบัด จำนวน 20 คน ซึ่งถูกคัดกรองและตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะระหว่างการบำบัด และยินยอมให้เก็บข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยจำแนกตามชนิดของข้อมูลและการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อสรุปผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (จำนวน 19 คน) เพศหญิง (จำนวน 1 คน) มูลเหตุจูงใจที่ทำให้เสพยาเสพติดก่อนเข้ารับการบำบัด (ครั้งแรก) คือ เพื่อนชักชวน (จำนวน 10 คน) ความอยากรู้อยากลอง (จำนวน 8 คน) ความเครียด (จำนวน 1 คน) และความเสียใจ (จำนวน 1 คน) ส่วนมูลเหตุจูงใจที่ทำให้เสพยาเสพติดในระหว่างบำบัด อันดับหนึ่ง คือ เพื่อนและคนใกล้ชิด (จำนวน 14 คน) เกิดจากเพื่อนชักชวนให้เสพ อันดับสอง คือ อาชีพและเศรษฐกิจ (จำนวน 3 คน) เนื่องจากต้องการให้ตนเองทำงานได้มากขึ้นและนานขึ้น อันดับสาม คือ ตนเอง (จำนวน 2 คน) โดยเกิดจากความเครียดจากปัญหาส่วนตัว อันดับสี่ คือ ครอบครัว (จำนวน 1 คน) เนื่องจากต้องการประชดพ่อแม่ ส่วนสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยเสริมให้มูลเหตุอื่น ๆ เกิดขึ้น เช่น อยู่ในสังคมกลุ่มเพื่อนทีเสพยาอาจจะมีโอกาสถูกเพื่อนที่เสพยาชักชวนได้ง่าย เป็นต้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6698
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น