กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6666
ชื่อเรื่อง: การประเมินการรับสัมผัสสาร Methyl ethyl ketone ในปัสสาวะและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการมองเห็นของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตรองเท้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The evlution of methyl ethyl ketone exposure in urine nd fctors relted to visul performnce mong production workersin shoe mnufcturing fctory in bngkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
สุทธิพัฒน์ ศิริรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การมองเห็น
สมรรถภาพ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับสัมผัสสาร Methyl Ethyl Ketone (MEK) และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการมองเห็นของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตรองเท้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 162 คน แบ่งเป็นพนักงานแผนกประกอบ 110 คนและแผนกขัดแต่ง 52 คน การศึกษามีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตรวจวัดระดับความเข้มข้นของ MEK ในปัสสาวะหลังเลิกงาน และวัดสมรรถภาพการมองเห็น (ตาบอดสีและลานสายตา) จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นพนักงานหญิง ร้อยละ 95.1 อายุเฉลี่ย 30.7 ปี ร้อยละ 96.9 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 32.7 ไม่เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 96.9 ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 93.2 ระยะเวลานอนหลับเฉลี่ย 5.8 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานในตำแหน่งปัจจุบันมาน้อยกว่า 7 ปี ร้อยละ 91.4 ไม่มีโรคประจำตัวและยาที่รับประทานประจำ ร้อยละ 87.0 และ 90.7 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลโดยสวมใส่ร้อยละ 76-100 ของเวลาทำงาน ร้อยละ 91.4 มีระดับความเข้มข้นของ MEK ในปัสสาวะหลังเลิกงานเฉลี่ย 0.43 ± 0.24 mg/ L สำหรับ สมรรถภาพการมองเห็น พบว่า อาการเกี่ยวกับสายตาที่เป็นตลอดเวลาได้แก่ อาการแสบตา/ เจ็บตา ตาอักเสบ/ แดงบวม มองเห็นภาพซ้อนและเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการตาบอดสีร้อยละ 72.2 และไม่มีความผิดปกติของลานสายตา ร้อยละ 98.8 เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับสมรรถภาพการมองเห็น พบว่า อายุกับอาการเกี่ยวกับสายตามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.034) และสถานภาพกับอาการเกี่ยวกับสายตามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.041) แต่สำหรับปัจจัยด้านอื่น ๆ กับสมรรถภาพการมองเห็น พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูล สำหรับการควบคุมและลดผลกระทบต่อสุขภาพของสาร MEK ในอนาคตได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6666
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น