กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6656
ชื่อเรื่อง: การติดตามประเมินผลการดำเนินงานการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A follow-up study on implemention of brest cncer screening by herself mong women of tmbon helth promoting hospitl, mung district, knchnburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วสุธร ตันวัฒนกุล
สิริรัตน์ วงษ์เสมา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์.
มะเร็งเต้านม -- ผู้ป่วย
มะเร็งเต้านม -- โรค
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: มะเร็งเต้านมเป็นโรคอันตรายร้ายแรง แต่ละปีมีสตรีป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวนมาก การเฝ้าระวังโดยการคัดกรองช่วยลดปัญหาโรคมะเร็งเต้านมได้ จึงมีการรณรงค์ให้สตรีกลุ่มเสี่ยงคัดกรองด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกปี แต่ยังขาดการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ดังนั้น การศึกษานี้จึงต้องการติดตามประเมินผลการรณรงค์คัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ปี พ.ศ. 2559 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ตามแนวคิดการประเมินของสเตค กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีกลุ่มเสี่ยง 185 คนและผู้เกี่ยวข้อง 96 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเก็บระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 จากเอกสารทางราชการและส่งแบบสอบถามให้ตอบ ข้อมูลวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test การติดตามประเมินผล พบว่าปี พ.ศ. 2559 การคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 40แห่ง มีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 22 คน และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง 74 คน งบประมาณที่ใช้ 3 แสนบาท สตรีกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรอง 21,004 คน คิดเป็นร้อยละ 76.6 พบผลตรวจผิดปกติ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 0.03 สตรีกลุ่มเสี่ยงโดยรวมเข้าถึงบริการเฉลี่ยร้อยละ 80.4 ยอมรับคุณภาพมากสุด รองลงมา ความสามารถจ่ายเพิ่ม สถานที่พอเพียง ตรวจสะดวก และเข้าใจวิธีตรวจ ร้อยละ 89.0, 84.0, 84.0, 77.0, 74.0 ตามลำดับ สตรีกลุ่มเสี่ยงโดยรวมมีแรงจูงใจในการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมเฉลี่ยร้อยละ 69.9 มีความคาดหวังความสามารถมากสุด รองลงมา รับรู้โอกาสเสี่ยง คาดหวังผลลัพธ์ และรับรู้ความรุนแรงร้อยละ 76.5, 75.3, 71.0, 59.3 ตามลำดับ ความพึงพอใจต่อการคัดกรองมะเร็งเต้านม พบว่าเจ้าหน้าที่ อบต. สมาชิก อบต. เจ้าหน้าที่เทศบาล สมาชิกเทศบาล ประสบความสำเร็จได้ผลมากกว่าร้อยละ 80.0 เว้นเพียง อาสมัครสาธารณสุข สตรีกลุ่มเสี่ยง กำนันและผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. มีความพึงพอใจไม่ถึงร้อยละ 80.0 ดังนั้นจึงควรเสริมสร้างแรงจูงใจในการคัดกรองให้แก่ สตรีกลุ่มเสี่ยง และแก้ไขปรับปรุงในประเด็นที่มีปัญหาอุปสรรคให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่รวมทั้งเสริมสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานต่อไป
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6656
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf991.78 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น