กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6655
ชื่อเรื่อง: การติดตามประเมินผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A follow-up study on the implemnttion of cervicl cncer screening test mong women ged 30-60 yer old of prchntkhm district, prchinburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วสุธร ตันวัฒนกุล
ทิฆัมพร สักกะตะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
มะเร็งปากมดลูก -- การป้องกันและควบคุม
มะเร็งปากมดลูก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคอันตรายร้ายแรง แต่ละปีฆ่าชีวิตสตรีเป็นจำนวนมาก ทำให้สตรีมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับโรคดังกล่าว การตรวจคัดกรองเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาได้ จึงมีโครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองสตรีกลุ่มเสี่ยงเป็นประจำทุกปี ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยงของอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้ตามรูปแบบการประเมินของสเตค เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางราชการ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 14 คน ที่รับผิดชอบโดยตรง เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 48 คน และส่งแบบสอบถามให้สตรีกลุ่มเสี่ยง 180 คนตอบ ข้อมูลทั้งหมดนำมาสรุปผลด้วยการ วิเคราะห์เอกสาร แจกแจงความถี่ คำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบผลสำเร็จของโครงการด้วย t-test กลุ่มเดียว การติดตามประเมินผล พบว่า ปี 2559 การตรวจคัดกรองของอำเภอประจันตคามมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 24 แห่ง งบประมาณที่ใช้ประมาณ 2 แสนบาท สตรีกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรอง 2,537 คน หรือร้อยละ 30.2 พบสตรีกลุ่มเสี่ยงมีผลตรวจผิดปกติและส่งต่อ 6 คน ผลเชิงพฤติกรรมสุขภาพ สตรีกลุ่มเสี่ยงมีแรงจูงใจในการป้องกันโรคโดยรวมร้อยละ 85.5 มีการคาดหวังความสามารถตนเองมากสุด รองลงมา การรับรู้ความรุนแรง ความคาดหวังผลลัพธ์และการรับรู้โอกาสเสี่ยง ร้อยละ 87.8, 87.7, 86.9 และ 80.0 ตามลำดับ เข้าถึงบริการโดยรวม ร้อยละ 85.4 ความเพียงพอของบริการมากที่สุด รองลงมา ความสะดวกและสิ่งอำนวยความสะดวก เข้าถึงแหล่งบริการ ยอมรับคุณภาพบริการ และความสามารถจ่ายค่าบริการร้อยละ 87.7, 86.9, 86.8, 86.6 และ 79.1 ตามลำดับ และผลความพึงพอใจต่อการรณรงค์ตรวจคัดกรอง พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพอใจมากที่สุด รองลงมา ผู้นำชุมชน สตรีกลุ่มเสี่ยง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ร้อยละ 88.9, 85.0, 80.4, 80.2 และ 72.4 ตามลำดับ โดยแรงจูงใจในการป้องกัน การเข้าถึงบริการ และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของอำเภอประจันตคามประสบความสำเร็จได้ผลมากกว่าร้อยละ 80.0 เว้นเพียงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความพึงพอใจไม่ถึงร้อยละ 80.0 ดังนี้ ในปีต่อไป จึงควรรณรงค์ให้สตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้นและเพิ่มแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6655
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น