กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6641
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่ระบุวันหมดอายุสำหรับวัดพุทธ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of food sfety mngement model with the expiry dte of buddhist temples
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุหลาบ รัตนสัจธรรม
สุนิศา แสงจันทร์
อนามัย เทศกะทึก
ณัจฉรียา คำยัง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
อาหาร -- การเจือปนและการตรวจสอบ
อาหาร -- การเก็บและรักษา
อารหาร -- อายุการใช้
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์อาหารที่หมดอายุภายในร้านสะดวกซื้อ และอาหารที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายพระสงฆ์ในวัด และสร้างรูปแบบการจัดการอาหารสำเร็จรูปที่มีฉลากระบุวันหมดอายุภายในวัดพุทธ กลุ่มที่ศึกษา คือเจ้าของร้านสะดวกซื้อ และอาหารที่ระบุวันหมดอายุที่วางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ 45 ร้าน ผู้มีจิตศรัทธาและอาหารที่ระบุวันหมดอายุที่ในช่วงวันพระและวันปกติที่นำมาถวายพระสงฆ์ จากวัด 33 วัด ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการประชุมกลุ่มเฉพาะ 3 กลุ่ม เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการอาหารของพระสงฆ์ จำนวน 23 คน สัมภาษณ์เชิงลึก จากพระสงฆ์ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการอาหารภายในวัด 3 กลุ่ม ตามขนาดของวัด จำนวน 9 รูป เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรง ด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 20 รูป/ คน ใช้การวิเคราะห์สถิติด้วยค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ร้านสะดวกซื้อร้อยละ 60 มีอาหารหมดอายุอย่างน้อย 1 ประเภท โดยพบเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิทเป็นอาหารที่หมดอายุมาแล้วมากที่สุด คือ 1,973 วัน และอาหารแห้งมีสัดส่วนการหมดอายุมากที่สุด ร้อยละ 5.66 ผลการสำรวจข้อมูลจากวัด พบเครื่องปรุงรสมีจำนวนวันหมดอายุแล้วมากที่สุด 2,155 วันตามลำดับ พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนวันของอาหารที่ระบุวันหมดอายุภายในร้านสะดวกซื้อกับจำนวนวันของอาหารที่ระบุวันหมดอายุที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายพระสงฆ์ในช่วงวันพระและวันปกติ โดยวันพระพบความสัมพันธ์ทางบวกในอาหารแห้ง (r = 0.757) รูปแบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่ระบุวันหมดอายุ มีการบูรณาการระบบเป็น 5 รูปแบบย่อย คือ พระสงฆ์จัดการเอง ส่วนกลางของวัดจัดการ มี 5 ขั้นตอน คือ การคัดแยกอาหาร การจัดลำดับอาหารที่คัดแยกแล้ว การตรวจสอบอาหารหมดอายุ การแจกจ่ายอาหารที่ใกล้หมดอายุ และกำจัดอาหารที่หมดอายุแล้ว ส่วนรูปแบบย่อยด้าน เสริมสร้างความรู้พระสงฆ์ และผู้นำอาหารมาถวายพระสงฆ์ รวมทั้งกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ โดยการประกาศเป็นนโยบายการจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับวัด กำหนดแนวทางการจัดหาบุคคลที่เหมาะสมมารับผิดชอบการปฏิบัติตามนโยบาย และกำหนดเป็นกฎระเบียบหรือข้อบัญญัติให้ทุกวัดจัดทำมาตรการให้สอดคล้องกับคู่มือการจัดการอาหารปลอดภัยภายในวัด ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่ระบุวันหมดอายุสำหรับวัดพุทธต่าง ๆ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และกิจการพระศาสนา จะช่วยยกระดับความปลอดภัยและผลสัมฤทธิ์ด้านต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6641
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น