กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6621
ชื่อเรื่อง: ผลของแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ต่อการเพิ่มสีในปลาการ์ตูนแดง (Premnas biaculeatus Bloch, 1790)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of synthetic crotenoid on the pigmenttion of spine-cheek nemonefish (premns biculetus bloch, 1790)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมถวิล จริตควร
นงลักษณ์ สำราญราษฎร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปลาการ์ตูนแดง -- การเจริญเติบโต
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวาริชศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ศึกษาผลของการเสริมแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ในอาหารปลาการ์ตูนแดงเพื่อให้ได้ผิวหนัง มีสีแดงตามที่ต้องการของตลาด แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลองย่อย โดยการทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ 6×3 Factorial in CRD เพื่อศึกษา 2 ปัจจัย โดยปัจจัยที่ 1 คือ ชนิดของ แคโรทีนอยด์สังเคราะห์ (เบต้าแคโรทีน แคนทาแซนทิน แอสตาแซนทิน ลูทีน และซีแซนทิน) และอาหารไม่เสริมแคโรทีนอยด์เป็นสูตรควบคุม และปัจจัยที่ 2 คือ ระยะเวลาในการเสริม (1, 2 และ 3 เดือน) เลี้ยงปลาด้วยอาหารเสริมแคโรทีนอยด์แต่ละชนิดที่ความเข้มข้น 100 พีพีเอ็ม ชนิดละ 3 ซ้ำ แบบให้กินจนอิ่มวันละ 3 ครั้ง พบว่าชนิดแคโรทีนอยด์ไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต อัตรารอด และอัตราแลกเนื้อ (p>0.05) การเสริมแอสตาแซนทินทำให้ผิวหนังปลามีค่าเฉดสีแดง และปริมาณ แอสตาแซนทินที่สะสมในผิวหนังปลาสูงกว่าการเสริมด้วยแคโรทีนอยด์ชนิดอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) ขณะที่ระยะเวลาในการเสริมที่นานขึ้นทำให้อัตราการเจริญเติบโต อัตรารอดลดลง และอัตราแลกเนื้อสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเสริมเป็นระยะเวลา 2 และ 3 เดือน ทำให้ผิวหนังปลามีค่าเฉดสีแดง (a*) และปริมาณแอสตาแซนทินที่สะสมในผิวหนังปลาไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่มีค่าสูงกว่าการเสริมเป็นระยะเวลา 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเสริมด้วยแคโรทีนอยด์แต่ละชนิดทำให้ผิวหนังปลาสะสมแคโรทีนนอยด์ชนิดนั้น ๆ ในปริมาณสูงสุด และทำให้ผิวหนังปลามีค่าเฉดสีแดงน้อยกว่าการเสริมด้วยแอสตาแซนทิน การทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ 6x3x6 Factorial in CRD เพื่อศึกษา 3 ปัจจัย โดยปัจจัยที่ 1 คือ ความเข้มข้นของแอสตาแซนทินที่เสริม (25, 50, 100, 150 และ 200 พีพีเอ็ม และไม่เสริมแอสตาแซนทิน เป็นชุดควบคุม) ปัจจัยที่ 2 คือ ระยะเวลาการเสริม (2, 4, 6, 8, 10 และ 12 สัปดาห์) และปัจจัยที่ 3 คือ ตำแหน่งการวัดสี (บริเวณหัว ลำตัวเหนือครีบอก และลำตัวใต้ครีบหลัง) เลี้ยงปลาด้วยอาหารแต่ละสูตร ๆ ละ 3 ซ้ำ แบบให้กินจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง พบว่า การเสริมแอสตาแซนทินความเข้มข้น 100, 150 และ 200 พีพีเอ็ม ทำให้ผิวหนังของปลามีค่าเฉดสีแดงไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่มีค่าสูงกว่าการเสริมแอสตาแซนทินความเข้มข้นอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเสริมเป็นระยะเวลา 8, 10 และ 12 สัปดาห์ ทำให้ผิวหนังของปลามีค่าเฉดสีแดงไม่แตกต่างกัน (p<0.05) แต่มีค่ามากกว่าบริเวณหัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<0.05) จากการศึกษาสรุปได้ว่าแอสตาแซนทินสังเคราะห์เป็นสารสีที่เหมาะสมสำหรับการเสริมในอาหาร ปลาการ์ตูนแดง โดยความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 100 พีพีเอ็ม และเสริมเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6621
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น