กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6610
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบทดสอบระดับชาติด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผลชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธี HGLM วิธี MIMIC และวิธี IRT-LR
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comprison of differentil item functioning detection in ntionl tests of litercy, numercy nd resoning bilities t the grde three level using hglm, mimic nd irt-lr methods
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
สุธาทิพย์ ตรีสิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: แบบทดสอบ -- การประเมิน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
แบบทดสอบ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบระดับชาติ (NT) และตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบทดสอบระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผลด้วยวิธี HGLM วิธี MIMIC และวิธี IRT-LR การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบระดับชาติทั้ง 3 ด้าน 2) ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบทดสอบระดับชาติ ด้วยวิธี HGLM วิธี MIMIC และวิธี IRT-LR และ 3) เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีการตรวจสอบ 3 วิธีข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิ จากผลการตอบแบบทดสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 9,600 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) แบบทดสอบระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความยากของข้อสอบ (b) อยู่ในระดับค่อนข้างยาก มีค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) อยู่ในระดับที่สามารถจำแนกผู้สอบได้ดี และมีค่าโอกาสในการเดาของข้อสอบ (c) ไม่เกิน 0.3 2) การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้ง 3 ด้าน ชี้ให้เห็นว่า เพศส่งผลให้เกิดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ โดยเพศหญิงจะได้เปรียบในการตอบข้อสอบด้านภาษา และด้านเหตุผล ในขณะที่เพศชายจะได้เปรียบในการตอบข้อสอบด้านคำนวณ โดยวิธี HGLM ตรวจพบข้อสอบทำหน้าที่ต่างกัน จำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 69 ของข้อสอบทั้งฉบับ รองลงมาคือ วิธี IRT-LR ร้อยละ 54 และวิธี MIMIC ร้อยละ 16 ตามลำดับ 3) การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ พบว่า วิธี HGLM ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธี MIMIC ในด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 70, 36 และ 53 ตามลำดับ และวิธี HGLMตรวจพบ DIF มากกว่าวิธี IRT-LR ด้านภาษา และด้านคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 37 และ 13 และวิธี IRT-LR ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธี MIMIC ทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 33, 43 และ 40 ตามลำดับ ส่วนวิธี HGLM ตรวจพบ DIF น้อยกว่า วิธี IRT-LR ด้านคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 7 (p < .05)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6610
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น