กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6599
ชื่อเรื่อง: ชนิดและปริมาณของเชื้อแบคทีเรียกับอาการแถบขาวในปะการังสมองร่องยาว (Platygyra daedaiea) วัยอ่อนในระบบเลี้ยง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Bcteri species nd density from cultured brin corl (pltygyr dedle) with white bnd syndrome
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี
ปภาศิริบา
ภัทรจิต รักษาชล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวาริชศาสตร์
แบคทีเรีย
ปะการัง
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การอนุบาลและเลี้ยงปะการังสมองร่องยาว (Platygyra daedalea) วัยอ่อนในโรงเรือน พบว่าบริเวณเนื้อเยื่อมีอาการแถบขาว White Band Syndrome (WBS) จึงจำแนกอาการแถบขาว ตามลักษณะการของหลุดลอกของเนื้อเยื่อปะการัง ได้เป็น 4 กลุ่ม คือโคโลนีที่ไม่แสดงอาการแถบขาว (0), แสดงอาการแถบขาวเล็กน้อย 10 -20% (+1), ปานกลาง >20 -60% (+2) และรุนแรง > 60% (+3) โดยตรวจสอบการปนเปื้อนของแบคทีเรียรวม แบคทีเรียวิบริโอรวม ทั้งจากน้ำในถังเลี้ยงปะการัง และเนื้อเยื่อปะการังทั้งก่อนและหลังเปลี่ยนถ่ายน้ำ พบว่าปริมาณแบคทีเรียรวม แบคทีเรียวิบริโอ รวมทั้งจากน้ำในถังเลี้ยงปะการังที่มีอาการแถบขาว และเนื้อเยื่อปะการังจะมีปริมาณแบคทีเรียมากขึ้นตามระดับความรุนแรงของอาการแถบขาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ซึ่งก่อนการเปลี่ยนถ่ายน้ำ พบปริมาณการสะสมของเชื้อแบคทีเรียวิบริโอรวมจากน้ำในถังเลี้ยงปะการังที่ (0) มีค่าเฉลี่ย± SE ที่ 5.49± 1.1 CFU/ml โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 3 เท่า ส่งผลให้เกิดอาการแถบขาวเล็กน้อยที่เนื้อเยื่อปะการัง (+1) และความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของอาการแถบขาวกับปริมาณเชื้อแบคทีเรียรวม และแบคทีเรียวิบริโอรวมในเนื้อเยื่อปะการังเพิ่มขึ้นตามระดับความรุนแรงของอาการแถบขาวเมื่อจำแนกชนิดเชื้อแบคทีเรียพบว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Vibriospp. โดยเชื้อวิบริโอชนิดเด่นคือ V. parahaemolyticus รองลงมาเป็นชนิด V. alginolyticus และหลังการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นเวลา 1 เดือน จึงสุ่มตัวอย่างพบว่าปริมาณแบคทีเรียลดลง 2 เท่า แต่อาการแถบขาวในปะการังยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากยังคงมีแบคทีเรียสะสมในเนื้อเยื่อปะการัง ดังนั้น ปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงปะการังคือการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมภายในถังเลี้ยงโดยทำความสะอาดถังเลี้ยง และเปลี่ยนถ่ายน้ำในทุก ๆ วันเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุของอาการแถบขาวในปะการัง ซึ่งควรมีการทดลองเพื่อยืนยันสาเหตุของโรคจากเชื้อแบคทีเรียต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6599
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น