กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6576
ชื่อเรื่อง: วรรณกรรมกลอนนิทานเรื่องพระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด : การนำเสนออารมณ์สะเทือนใจในฐานะ "นิราศวรรณคดี"
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Phrborwong songskn poetic tle, sithong temple version, trd province: study s literry-inspired nirt
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทัศนีย์ ทานตวณิช
ณัฐา ค้ำชู
วลัยลักษณ์ สิตไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: วรรณกรรม -- แง่สังคม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาไทย
วรรณกรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมกลอนนิทานเรื่องพระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) ต้นฉบับกลอนนิทานเรื่องนี้ เป็นสมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทยโบราณ จํานวน ๑ ฉบับ ๑๔๒ หน้าสมุดไทย ปัจจุบันต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่วัดไทรทอง จังหวัดตราด ผู้วิจัยนําต้นฉบับมาปริวรรตแล้วศึกษา การนําเสนออารมณ์สะเทือนใจในฐานะนิราศวรรณคดี ๒ ประเด็น ได้แก่ กลวิธีการสร้างเรื่องและกลวิธีทางวรรณศิลป์ นําเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ การวิจัยพบว่า กลวิธีนําเสนออารมณ์สะเทือนใจในวรรณกรรมกลอนนิทานเรื่อง พระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด นําเสนอโดยการสร้างความโศก ๒ กลวิธีคือ กลวิธีการสร้างเรื่องเพื่อให้เป็นนิราศวรรณคดีและกลวิธีทางวรรณศิลป์เพื่อนําเสนออารมณ์สะเทือนใจ กลวิธีการสร้างเรื่องเพื่อให้เป็นนิราศวรรณคดีกวีใช้ ๓ กลวิธี ได้แก่ ๑. การสร้างโครงเรื่อง ด้วยการผูกปมปัญหาให้ตัวละครเอกพลัดพราก ทั้งพลัดพรากจากคนรัก จากมารดา จากบุตร จากพี่น้อง และจากบ้านเมือง ๒. การสร้างและการนําเสนอตัวละครที่เอื้อต้อการสร้างความโศกกวีสร้างตัวละครที่ถูกกระทําทั้งจากธรรมชาติ อมนุษย์ และมนุษย์ ทําให้ต้องตกทุกข์ได้ยาก และสร้างตัวละครให้ถูกกลั่นแกล้งรังแกจากผู้อื่น และนําเสนอตัวละครแบบผู้รู้และนําเสนอตัวละครโดย ตัวละครอื่น ๓. การนําเสนอความโศกร่วมกับความรู้สึกอื่น ได้แก่ ความโศกร่วมกับความรัก ความโศก ร่วมกับความกลัว ด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์เพื่อนําเสนออารมณ์สะเทือนใจกวีใช้ ๒ วิธี คือ การสรรคําและ การสร้างความเปรียบและการใช้บทพรรณนา ดังนี้ ๑. การสรรคําและการสร้างความเปรียบ กวี สรรคําที่มีเสียงสัมผัสทั้งสัมผัสสระและพยัญชนะ สรรคําซ้ำ คําซ้อน และคําพ้องเสียง ใช้ความเปรียบ ประเภทอุปมา อติพจน์และการอ้างถึง ๒. การใช้บทพรรณนาเพื่อนําเสนออารมณ์สะเทือนใจพบ ๒ ประเภท ได้แก่ การใช้บทพรรณนาฉากธรรมชาติและการใช้บทพรรณนาฉากบ้านเมือง โดยพบ ๒ ลักษณะคือ กวีใช้บทพรรณนาฉากอันเป็นเหตุให้เกิดความพลัดพราก และการใช้บทพรรณนาฉากที่ เสริมความโศกอันเกิดจากการพลัดพราก กลวิธีทางวรรณศิลป์เหล่านี้เป็นปัจจัยที่นําเสนออารมณ์ สะเทือนใจให้เกิดแก่ผู้อ่านด้วยกลวิธีการนําเสนออารมณ์สะเทือนใจดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าวรรณกรรม กลอนนิทานเรื่องพระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด เป็นนิราศวรรณคดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6576
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น