กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6562
ชื่อเรื่อง: ฉะเชิงเทรา : เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจแห่งลุ่มน้ำบางปะกง (พ.ศ. 2398-2554)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chchoengso: the economic importnce of the Bng Pkong river bsin (1855-2011)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี มหาขันธ์
ศักดินา บุญเปี่ยม
อิงตะวัน แพลูกอินทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา
ฉะเชิงเทรา -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
ฉะเชิงเทรา -- บางปะกง -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เมืองฉะเชิงเทราพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมืองฉะเชิงเทราโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ฉะเชิงเทราพัฒนาอย่างรวดเร็วจากเมืองชั้นจัตวาจนกลายเป็นเมืองสำคัญทางทางเศรษฐกิจแห่งลุ่มน้ำบางปะกง ประกอบด้วย ปัจจัย 3 ด้าน คือ 1. ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม 2. ความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาในการดำรงชีพและประกอบอาชีพ 3. นโยบายของผู้ปกครองอาณาจักรและรัฐไทยในแต่ละยุคสมัย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ฉะเชิงเทรามีทุนของตัวเอง คือ แม่น้ำบางปะกงอันเป็นสายพานของระบบนิเวศ ที่เชื่อมต้นน้ำจากผืนป่าตะวันออกไหลลงสู่ทะเล ก่อเกิดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ เมืองที่มีฐานรากทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาก่อเกิดทรัพยากร บุคคล ที่สามารถพัฒนาต่อยอดการสร้างความเจริญ ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ จนทำให้ฉะเชิงเทราเป็นเมืองสำคัญทั้งในด้านความั่นคงทางอาหาร ถือเป็นครัวของภูมิภาคของเมืองหลวงและของโลกเป็นเมืองที่มีผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมที่หลากหลาย มีการค้าขายและบริการที่เจริญรุ่งเรืองและที่สำคัญคือมีศักยภาพ และทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจนแบบค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติแต่หากมองในแนววิชาการจะเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในเชิงบวกคือเกิดการลงทุนทางด้านเศรษฐกิจเกิดการผลิตเพื่อการค้าเกิดการจ้างแรงงานการรับวิทยาการจากต่างชาติการขยายพื้นที่เกษตรกรรม เกิดการตั้งชุมชนเมืองขยายตัวการเป็นแหล่งรายได้ของรัฐและการพัฒนาสู่การเป็นเมืองรองของกรุงเทพฯ ส่วนผลกระทบในเชิงลบคือทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาแรงงานต่างด้าว ความเสื่อมของอุตสาหกรรมในครัวเรือน อิทธิพลและความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ตลอดจนสภาพสังคมและวิถีชีวิตของชาวเมืองฉะเชิงเทราเกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ด้วยภูมิปัญญาของชาวเมืองนี้ที่ได้พยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยการนำแนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากมาปรับใช้ในวิถีการทำมาหากิน โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเกิดจิตสำนึกตระหนักรู้และร่วมกันอนุรักษ์ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6562
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น