กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6550
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองในญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to response to stroke symptoms in fmily members of ptients with cute ischemic stroke
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เขมารดี มาสิงบุญ
นิภาวรรณ สามารถกิจ
นิศาชล นุ่มมีชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมอง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้องของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองกับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองในญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง เป็นญาติผู้ป่วยที่นำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันมารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 90 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการกำหนดช่วงเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประสบการณ์การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกัยโรคหลอดเลือดสมองแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแบบสอบถามการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและแบบสอบถามการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83, .81, .82 และ.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับมาก (M = 2.16, SD = 0.94) มีการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในระดับมาก (M = 2.52, SD = 2.79) มีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในระดับปานกลาง (M = 10.11, SD = 2.31) และมีการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองในระดับปานกลาง (M = 52.19, SD = 6.79) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ประสบการณ์การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .22 และ r= .22 ตามลำดับ) และการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมอง (r= .36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า บุคลากรด้านสุขภาพควรตระหนักถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค หลอดเลือดสมองแก่ญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มากขึ้น โดยให้ความในเรื่องของปัจจัยเสี่ยง อาการเตือนและการจัดการเมื่อเกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมอง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6550
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น