กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6546
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีในผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to eting behvior fter cholecystectomy mong ptients with cholecystitis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เขมารดี มาสิงบุญ
นิภาวรรณ สามารถกิจ
นลิณี เชยกลิ่นพุฒ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ถุงน้ำดี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
ถุงน้ำ -- โรค -- การรักษา
ถุงน้ำดี -- โรค
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: พฤติกรรมบริโภคอาหารที่ถูกต้องภายหลังตัดถุงน้ำดีจะช่วยลดโอกาสเกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนภายหลังตัดถุงน้ำดีได้การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ เพศ การรับรู้ความเจ็บป่วย อาการภายหลังตัดถุงน้ำดีและความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรคกับพฤติกรรมบริโภค ภายหลังตัดถุงน้ำดีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้องหรือผ่าตัดทางหน้าท้อง ซึ่งเข้ารับการรักษา ณ แผนกศัลยกรรมในโรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จำนวน 82 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดและสุ่มตัวอย่าง โดยใชวิธีการกำหนด ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมลู ส่วนบุคคลแบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยแบบสัมภาษณ์อาการภายหลังตัดถุงน้ำดี แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91, .79 และ .79 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรคที่มีค่า KR-20 เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา สถิติสัม ประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียลและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.6 มีอายุเฉลี่ย 42.79 ปี (SD = 12.43) ร้อยละ 76.8 มีอาการภายหลังตัดถุงน้ำดีมีการรับรู้การรบกวนการดำเนินชีวิตประวันของอาการภายหลังตัดถุงน้ำดี โดยรวมในระดับน้อย (M = 2.91, SD = 0.17) มีการรับรู้ความเจ็บป่วยด้านลบในระดับปานกลาง (M = 91.3, SD = 14.90) มีความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรคอยู่ในระดับสูง (M = 14.09, SD = 1.9) และมีพฤติกรรมบริโภค ภายหลังตัดถุงน้ำดีในระดับดี (M = 47.72, SD = 9.1) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า อายุ เพศ และความรู้ เรื่องอาหารเฉพาะโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .43, rrb = .34 และ r= .41 ตามลำดับ) การรับรู้ความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .27) ส่วนอาการภายหลังตัดถุงน้ำดีมีความสัมพันธ์ทางลบระดับสูงกับพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.6) ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำ ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ที่ได้รับการตัดถุงน้ำดี เพื่อลดผลกระทบของอาการภายหลังตัดถุงน้ำดี โดยพยาบาลควรมีการติดตามอาการภายหลังตัดถุงน้ำดีและพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดี เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมบริโภคที่เหมาะสมนำมาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6546
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น