กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6537
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ssocited with grndprenting stress mong grndmothers rising their infnt grndchildren
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี เดียวอิศเรศ
จินตนา วัชรสินธุ์
วิวรรณา คล้ายคลึง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความเครียด (จิตวิทยา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติครอบครัว
ความเครียดในผู้สูงอายุ -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ความจำเป็นทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ย่า/ยาย ต้องรับผิดชอบทำบทบาทเลี้ยงดูหลาน หลักแทนพ่อ/ แม่เพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำบทบาท แม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรกกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบหลายขั้นตอน คือย่า /ยายที่ทำ บทบาทหลักแทนพ่อ แม่เป็นผู้เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรกเป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป ในจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร จำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน แบบสอบถามความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลแบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองในการทำบทบาท และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก มีความเครียดในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 36.00 (n=36) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน ได้แก่ ความรู้สึกเป็นภาระด้านการเงิน (r=.249, p< .01) และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (r = -.314, p < .05) ความรู้สึกเป็นภาระด้านกิจวัตรประจำวัน (r =.306, p<.01) และความรู้สึกเป็น ภาระด้านสุขภาพ (r=.350, p < .01) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองในการทำบทบาท (r = -.266, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (r = -.314, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดูแลย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน ควรมีการประเมินความเครียดในการทำบทบาทของย่า /ยายอย่างต่อเนื่อง และให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมและลดภาระด้านต่าง ๆ ให้แก่ย่า/ยาย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6537
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น