กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6534
ชื่อเรื่อง: ความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Suicidl idetion in dolessents nd its ssocited fctors
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นุจรี ไชยมงคล
ดวงใจ วัฒนสินธุ์
สุธิดา พลพิพัฒน์พงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: วัยรุ่น -- การตาย
วัยหนุ่มสาว -- พฤติกรรมฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตาย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัยรุ่นอยู่ในวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างในชีวิตทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจส่งผลต่อการมีความคิดฆ่าตัวตายได้การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยเพศคุณลักษณะส่วนบุคคลและเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต กลุ่มตัวอย่างคัดเลือก โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนระดับมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง จำนวน 249 คน เก็บข้อมูลเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบบวัดความคิดฆ่าตัวตายแบบประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน และแบบประเมินเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแคร์ และการวิเคราะห์ถดถอยไบนารี ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงสูงต่อการมีความคิดฆ่าตัวตาย (M = 7.08, SD = 4.91) กลุ่มตัวอย่างที่มีเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต คือ มีปัญหากับนักเรียนอื่น หรือมีปัญหากับครู/อาจารย์มีโอกาสมีความคิดฆ่าตัวตายมากเป็น 3.7 เท่าของผู้ที่ไม่มีปัญหากับนักเรียนอื่น (OR = 3.65, CI =1.53-8.73) และ 2.2 เท่าของผู้ที่ไม่มีปัญหากับครู/อาจารย์ (OR = 2.21, CI = 1.15-4.23) และผู้ที่มีคุณลักษณะของพฤติกรรมที่เป็นปัญหามีโอกาสมีความคิดฆ่าตัวตายมากเป็น 2.4 เท่าของผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา (OR = 2.36, CI = 1.17-4.74) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า วัยรุ่นไม่ว่าเพศชายหรือหญิงมีความเสี่ยงสูงต่อการมีความคิดฆ่าตัวตายโดยเฉพาะในผู้ที่มีคุณลักษณะของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและมีปัญหากับนักเรียนอื่นหรือครู/อาจารย์ดังนั้น พยาบาลและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพวัยรุ่น ควรนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนจัดกิจกรรมหรือโปรแกรม เพื่อส่งเสริม การมีพฤติกรรมสังคมทางบวกรวมทั้งสนับ สนุนการมีสัมพันธภาพที่เหมาะสมระหว่างเพื่อน นักเรียน และครู/อาจารย์เพื่อลด และป้องกันการมีความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6534
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น