กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6491
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to mternl mngement for children with thlssemi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
นฤมล ธีระรังสิกุล
ภัทร์ภร อยู่สุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: โรคธาลัสซีเมีย -- ผู้ป่วย
ธาลัสซีเมียในเด็ก
โรคธาลัสซีเมีย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของเด็ก มารดาจึงเป็นบุคคลสำคัญในการจัดการดูแลบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียอย่างต่อเนื่องการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียกลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียที่มารับบริการการรักษาที่หน่วยบริการเคมีบำบัดโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 109 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มอย่างง่ายตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการจัดการของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93, .94 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าการจัดการของมารดาด้านการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความรุนแรงของโรคและการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .202, r = .191) การจัดการของมารดาด้านความสามารถในการดูแลเด็กมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความรุนแรงของโรคระยะเวลาการเจ็บป่วยอายุและการสนับสนุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .188, r= .247, r= .226, r = .147) การจัดการของมารดา ด้านความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างบิดามารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับรายได้ของครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .246, r = .168) การจัดการของมารดาด้านผลกระทบต่อครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ความรุนแรงของโรคอายุ รายได้ของครอบครัวและการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.282, r = -.298, r= -.262, r= -.230) การจัดการของมารดาด้านความยากลำบากของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคมอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.261) และการจัดการของมารดา ด้านความพยายามในการดูแลเด็กมีความสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.254) จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าในการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมให้ มารดามีการจัดการดูแลบุตรควรคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องแต่ละด้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6491
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น