กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6465
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา : ชายหาดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community prticiption in the development of ptty bech chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนิสรา แก้วสวรรค์
ธารทิพย์ พรมพงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
แหล่งท่องเที่ยว -- การพัฒนา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชายหาดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการศึกษาปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenient sampling) ทําการศึกษา จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณชายหาดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จํานวน 400 ชุด ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาความเชื่อมันด้วยวิธีครอนบาค (Cronbach’s 0 alpha) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปที่ระดับ 0.05 สําหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ทดสอบค่าเฉลี่ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) และการทดสอบสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation) ที่นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็น เพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี จบการศึกษาระดับมัธยม ประกอบอาชีพนิสิต นักศึกษา ประชนส่วนใหญ่มีรายได้ 5,001-10,000 บาท มีสถานภาพโสด และมีระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน 10-20 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีรายละเอียดตามลําดับดังนี้ ด้านความรู้และความตระหนักของชุมชน ด้านความเข็มแข็งของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชายหาด เมืองพัทยาในภาพรวม 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยรายละเอียดตามลําดับ ดังนี้ การค้นหาปัญหาและหาสาเหตุของปัญหาและสาเหตุของปัญหาการมีส่วนร่วมในการวางแผนดําเนินงาน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแผนการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ข้อเสนอแนะ พัทยา ควรประชาสัมพันธ์เผยแพร่เอกสารที่สร้างจิตสํานึกต่อการรับผิดชอบทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวแก่ประชาชนในชุมชนผู้ประกอบการเพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเห็นถึงความสําคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และร่วมกันดูแลรักษาแหล่ง ท่องเที่ยว รวมทั้งจัดทําป้ายประชาสัมพันธ์ เอกสารแผนพับ ให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและกฎระเบียบข้อบังคับของแหล่งท่องเที่ยวแก่ประชาชนในชุมชนและนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6465
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น