กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6412
ชื่อเรื่อง: แนวทางพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for the development of the child development center in mung municiplity, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุธาศิณี สุศิวะ
ปรมินทร์ ใจห้าว
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -- การบริหาร -- ไทย -- ชลบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติตามมาตรฐานการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯโดยพิจารณาตามขนาดของศูนย์ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครองที่ใช้บริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเก็บแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ปกครองวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป SPSS โดยมีสถิติที่ใช้ คือค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยใช้ Independent sample t-test และใช้สถิติแบบ One-way ANOVA/ F-test ซึ่ง One-way ANOVA จะต้องใช้วิธีเปรียบเทียบเชิงซ้อน (Multiple comparison) โดยใช้การทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD) เพื่อหา ว่าค่าเฉลี่ยคู่ใดบ้างที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าการวิจัยเชิงคุณภาพ 1. การบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีขนาดที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน 2. พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารจัดการจะยึดการบริหารจัดการตามมาตรฐานที่ได้มีการจัดรูปแบบการบริหารจัดการไว้อยู่แล้ว ซึ่งส่งผลให้ในแต่ละศูนย์นั้นมีการบริหารจัดการที่ใกล้เคียงกัน การวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 31-40 ปีในเรื่อง ของความพึงพอใจในแต่ละด้าน ดังนี้ คือ 1. ความพึงพอใจด้านทำเลที่ตั้ง 2. ความพึงพอใจด้านด้านอาคารสถานที่ 3. ความพึงพอใจด้านครู/ บุคลากร 4. ความพึงพอใจด้านการเรียนการสอน 5. ความพึงพอใจด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง 6. ความพึงพอใจด้านความปลอดภัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในแต่ละด้านซึ่งโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งหมด ข้อเสนอแนะในการวิจัยควรมีการปรับปรุงประสิทธิภาพควรมีการจัดการด้านทำเลที่ตั้งให้มีความเสมอภาคและเป็นมาตรฐานในทุกขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีห้องเรียนที่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ควรมีการอบรมและมีการประเมินบุคลากรในทุก ๆ ด้านมีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยมากขึ้นมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและมีการวางแผนและการใส่ใจในรายละเอียดของความปลอดภัยให้เหมาะสมกับศูนยพัฒนาเด็กเล็กแต่ละแห่ง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6412
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น