กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6403
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดเพื่อเพิ่มมูลค่า กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรในอำเภอบ้านลาดจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of sugr plm products to increse vlue, cse study of griculturl group in bn lrd district, petchburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนิสรา แก้วสวรรค์
ธีรารัตน์ มงคลโสฬศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำตาลทราย -- การผลิต
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรีการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดเพื่อเพิ่มมูลค่า กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี” โดยผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้ 1) กำหนดพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 2) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง กำหนดเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ผลิตน้ำตาลโตนด ผู้ประกอบการและผู้บริโภค 30 ราย 3) กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) 4) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการำเนินการวิจัยแบบ Action research ผู้วิจัยใช้กรอบ PDCA เป็นตัวตั้งต้นในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวางแผนปฏิบัติการ (Plan: P) 2) การปฏิบัติตามแผน (Do: D) 3) การติดตามผล (Check: C) 4) การสรุปแก้ไขหรือการนำไปปฏิบัติ (Act: A) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการน้ำตาลโตนด, เกษตรกรและผู้บริโภค มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนว ทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดในด้านกลยุทธ์โดยการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ดังนี้ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งานเป็นการสร้างความแตกต่างด้านลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังมีบริการหลังการขาย เช่น การรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี มีภาพลักษณ์ที่ดี มีเอกลักษณ์เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ควรมีการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้มีการผลิตที่สม่ำเสมอเพื่อทำให้ผู้บริโภค รู้จักสินค้ามากขึ้น ซึ่งเป็นการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น และควรปรับปรุงตราผลิตภัณฑ์ให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดในด้านการเพิ่มมูลค่า ผู้ประกอบการน้ำตาลโตนด กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค มีความคิดเห็น ดังนี้ ควรเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดให้เหนือกว่าคู่แข่ง เช่น รูปแบบ ความหรูหรา ความทันสมัย และตราสินค้า บุคลากรที่ให้บริการ ต้องมีความชำนาญ ความรู้ ความสามารถในงาน มีมนุษยสัมพันธ์ ความเป็นกันเอง สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ต้องควบคู่กันไปเพื่อให้ลูกค้าได้ตระหนักถึงความคุ้มค่าในการบริโภค อีกทั้งการนำนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง และมีคุณสมบัติที่สูงขึ้น ทำให้มีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะมีเจ้าเดียวที่ทำได้และมีการจดสิทธิบัตร รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์อีกด้วย
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6403
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น