กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6354
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Antecedents of employees dptbility in utomotive industry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง
นุจรี ภาคาสัตย์
สกุล กิตติพีรชล
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: การปรับตัวทางสังคม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
อุตสาหกรรมยานยนต์ -- บุคลากร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาปัจจัยเชิงสาเหตุความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรและ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรในองค์กรและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานของของบุคลากรในองค์กรธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์กับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-methods research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก (In-depth interview) เกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุความสามารถในการปรับตัวของบุคลากร กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในบริษัทที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และเคยผ่านการทำงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 จำนวน 17 คน การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการเก็บตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากแหล่งข้อมูลของบริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยประจำปี พ.ศ. 2559 จำนวน 617 บริษัท กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ทำงานอยู่ในบริษัทของธุรกิจ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 617 คน โดยวิธีการเลือกแบบสะดวกบุคลากรที่มีอายุการทำงาน 10 ปีขึ้นไป โดยการใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างทั้งนี้ได้รับแบบสอบถามคืนกลับมา 404 ชุด คิดเป็นร้อยละ 65.48 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยค่าร้อยละและการวิเคราะห์ โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling) โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า องค์ประกอบของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 1) สมรรถนะได้แก่ การเปิดใจ รับประสบการณ์ และการมีจิตสำนึก 2) ทุนมนุษย์ได้แก่ ประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาและการรับรู้ ความสามารถในการทำงาน 3) สภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาความต้องการในงาน การสื่อสารการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน และการสนับสนุนจากองค์การ องค์ประกอบความสามารถในการปรับตัวประกอบไปด้วยความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีและทักษะใหม่ ๆ ความสามารถในการจัดการกับความเครียดในที่ทำงาน ความสามารถในการปรับตัวทางวัฒนธรรม และความสามารถในการมีความคิดสร้างสรรคองค์ประกอบผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน ประกอบไปด้วยผลการปฏิบัติงานที่ดีมีความสุขในการทำงาน และความตั้งใจที่จะลาออกต่ำ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรในองค์กรธุรกิจมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานของบุคลากรในองค์กรธุรกิจ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งนี้ปรากฏชัดเจนด้วยดัชนีวัดระดับความกลมกลืน การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ ( 2 ) มีค่าเท่ากับ 87.99 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 68 ค่า p-value มีค่าเท่ากับ 0.052 และค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ ( 2 /df) มีค่าเท่ากับ 1.293 หากเมื่อพิจารณาในประเด็นดัชนีระดับความกลมกลืน ปริมาณความแปรปรวน และความแปรปรวนร่วมที่อธิบายได้ด้วยโมเดล (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.975 และค่าปริมาณความแปรปรวนและความแปรปรวนร่วมที่อธิบายได้ด้วยโมเดลโดยการปรับแก้ด้วยความซับซ้อนของโมเดล (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.944 ส่วนค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.027 นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า 1) สมรรถนะมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถในการปรับตัว 2) ทุนมนุษย์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถในการปรับตัว 3) สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถในการปรับตัว 4) สมรรถนะไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน 5) ทุนมนุษย์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน 6) สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน และ 7) ความสามารถในการปรับตัวมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานทั้งนี้ผลการยืนยันโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรในองค์กรธุรกิจและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานว่า มีความสัมพันธ์กัน มีความเป็นไปได้ และถูกต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีและกรอบแนวคิดในการวิจัย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6354
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น