กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6353
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอิสระ สุวรรณบล
dc.contributor.authorนภาพร สิงห์นวล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:44:06Z
dc.date.available2023-05-12T02:44:06Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6353
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะและภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารรับสูงของไทยและเพื่อเสนอแนะแนวทางรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทยและเพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการ ประเภทบริหารระดับสูงของไทยให้สามารถแข่งขันระหว่างประเทศในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางบริบทอย่างรวดเร็วได้การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธีทั้งกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นที่ปฏิบัติราชการ เช่นเดียวกับประเภทอำนวยการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด หรือเคยดำรงตำแหน่งข้างต้นรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งได้รับการคัดสรรจากส่วนราชการมาเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรนักบริหารระดับสูง: ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส. 1) เพื่อตอบแบบสอบถามสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 364 คน ผู้ทรงคุณวุฒิทางการบริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ใช้งานผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักบริหารระดับสูง และผู้รับผิดชอบหลักสูตรการพัฒนา นักบริหารระดับสูง จำนวน 12 คน เพื่อการจัดประชุมกลุ่ม (Focus group) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสถิติเพื่อสังคมศาสตร์ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรมสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และนำโมเดลที่ค้นพบได้ไปจัดทำการประชุมกลุ่ม (Focus group) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทยที่ได้จากการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบูรณาการ โดยมีแนวทางการพัฒนาสมรรถนะและพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทย ซึ่งประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาด้วยวิธีการปรับปรุงกระบวนงานและวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง การฝึกอบรมและการพัฒนาเฉพาะบุคคล (Individual Development Plan: IDP) การเรียนรู้เพื่อสร้างทีมงาน สร้างความรู้สึกร่วม และการสร้างคุณค่าในการทำงาน การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารการเทียบเคียง (Benchmarking) และการเรียนรู้โดยใช้แบบอย่างที่ดี (Best practice) การประเมิน แบบ 360 องศาแล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงและการพัฒนาบุคลิกภาพและความฉลาดทางอารมณ์ และปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารรับสูงของไทย ได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการระดับสูงของไทย โดยต้องพัฒนาสมรรถนะตามองค์ประกอบ คือ ภาวะผู้นำ และการบริหารอย่างมืออาชีพ วิสัยทัศน์และการบริหารคน การวางกลยุทธ์ภาครัฐและความรอบรู้ในการบริหารศักยภาพเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง การควบคุมตนเอง การสอนงานและการมอบหมายงาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกคือความพร้อมของผู้ที่จะได้รับการพัฒนา เช่น ทักษะของการเป็นผู้บริหารสมรรถนะทางการบริหารตามที่นักบริหารระดับสูงพึงมีซึ่งการตัดสินใจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาภาวะผู้นำความสามารถในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์การมีความชำนาญในงาน (Expertise) การเป็นทีมงานที่ดีการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้านจริยธรรม คุณธรรม และที่สำคัญ คือ ด้านมีจิตมุ่งบริการ (Service mind) ผู้บังคับบัญชาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง เพราะผู้บังคับบัญชา เป็นผู้สร้างความเป็นผู้นำ ส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชา ได้รับการพัฒนาเพื่อให้พร้อมสำหรับการเลื่อนสู่ตำแหน่งในระดับสูง เป็นตัวแทนสำหรับการสืบทอดตำแหน่งและระบบ Career path ของหน่วยงาน หากหน่วยงานมีการวางระบบการสืบทอดตำแหน่งและให้ข้าราชการเดินทางตามระบบที่กำหนดไว้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมหรือเอื้อให้ข้าราชการมีความพร้อมในการที่จะได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำต่อไปได้
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภาวะผู้นำ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.subjectข้าราชการพลเรือน -- การบริหารงานบุคคล
dc.titleการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
dc.title.alternativeAntecedents of employees dptbility in utomotive industry
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study leadership development and skill development approach of expected candidates for public sector executives; and to propose the leadership development approach of public sector executives for national competitiveness; and 2) to find out factors influencing leadership development of public sector executives that enhances national competitiveness in a fast paced environment. The data collections of this research were questionnaire and focus group. The sample population was 364 civil servants who are currently in charge of directors or related-position at least 2 years or used to be in the position for at least 2 years (according to the Office of Civil Service Commission) that all civil servants were selectively chosen by visions and morals, and 12 honorary leadership development specialists who experienced in leadership skill management for public sector executives both in government and private sectors. The data analysis of this research included qualitative analysis program, SPSS, and SEM. The results of this research showed that integrative leadership management model of public sector executives includesprogressive work process and method improvement, benchmarking, individual development plan, shared value, managerial competency, best practice, 360 degree appraisal, and personality and EQ development. Furthermore, factors concerning leadership development of public sector executives include management competency consisting of professional leadership management, vision and human resource management, strategic planning and administration in government sector, creativity, selfcontrol, and work transfer and assignment. Also, the other important factor is readiness of the candidates-the leadership competency in high government officials is an indicator to pathway in leadership development, effectiveness, expertise, teamwork, uniqueness in morals and ethics, and service mind. The supervisor is also another essential factor to be considered because the supervisor is viewed as a leader who governs and encourage the team to the maximum skill competency, as promotion, successor, career path which all of these are able to enhance civil servants and public sector executives’ readiness in leadership development competency in the future.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการจัดการสาธารณะ
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น