กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6349
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขา และการทรงตัวในผู้ที่มีกิจกรรมขี่ม้า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The reltionship between core strength, lower limb strength nd blnce in horse riding people
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง
กวีญา สินธารา
วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
สิทธิพร พันธุ์พิริยะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: กำลังกล้ามเนื้อ
สมรรถภาพทางกาย
การขี่ม้า
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขา และการทรงตัวในผู้ที่มีกิจกรรมขี่ม้า ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ที่มีกิจกรรมขี่ม้าเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3 เดือน จำนวน 123 คน กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนถูกทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ซึ่งประกอบไปด้วย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้านหน้า ด้านขวา ด้านซ้าย และด้านหลัง การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านหน้าใช้วิธี 60 Degree flexion test ทดสอบความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านขวาและด้านซ้ายโดยวิธี Side plank test และทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านหลังโดยวิธี Back extension endurance test ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขาด้วย Leg dynamometer ทดสอบการทรงตัวแบบเคลื่อนไหวโดยวิธี Star excursion balance test และทดสอบการทรงตัวแบบไม่เคลื่อนไหวโดยใช้กระดานทรงตัว นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านหน้าและด้านขวามี ความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับต่ำมากกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .206, p = .022 และ r = .204, p = .024 ตามลำดับ) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ด้านขวาและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขามีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับต่ำมากและระดับต่ำ ตามลำดับกับการทรงตัวแบบเคลื่อนไหว (r = .197, p = .029 และr = .300, p = .001 ตามลำดับ) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านซ้ายและด้านหลังมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบระดับต่ำมากและระดับต่ำตามลำดับกับการทรงตัวแบบไม่เคลื่อนไหว (r = -.241, p = .007 และ r = -.410, p= .000 ตามลำดับ) จากข้อมูลที่ปรากฏสามารถสรุปได้ว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านขวา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขา และการทรงตัวแบบเคลื่อนไหวมีความสัมพันธ์กันในผู้ที่มีกิจกรรมขี่ม้า อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้ายซ้าย และด้านหลังมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับการทรงตัวแบบไม่เคลื่อนไหว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6349
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น